@article{Sanguansit_Siridet_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง vertebral ส่วนที่ 3 และ 4 ในร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทย}, volume={8}, url={https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/246717}, abstractNote={<p>หลอดเลือด vertebral artery (VA) เป็นหลอดเลือดที่ทอดตัวจากส่วนคอไปยังศีรษะมีหน้าที่สำคัญในการนำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนท้าย โดย VA แบ่งออกเป็น  4 ส่วน ตลอดความยาวของหลอดเลือดนี้ vertebral ส่วนที่ 3 (V3)  เป็นส่วนที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวของศีรษะมากที่สุดและส่วนที่ 4 (V4) เป็นส่วนที่มักพบการอุดตันของหลอดเลือด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง V3 และ V4 จากร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทยจำนวน 20 ร่าง โดยตัวอย่างหลอดเลือดจากทั้งข้างขวาและซ้ายถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลาย จากนั้นเตรียมชิ้นเนื้อด้วยวิธีมาตรฐาน ย้อมด้วยสี Hematoxylin และ Eosin และ Verhoeff-Van Gieson ศึกษาลักษณะทางจุลพยาธิภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดบันทึกภาพดิจิตอลและวัดความหนาของผนังหลอดเลือดด้วยโปรแกรม ImageJ พบว่าความหนาผนังหลอดเลือดชั้นใน (tunica intima) ของ V3 และ V4 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความหนาของผนังหลอดเลือดชั้นกลาง (tunica media) และผลรวมค่าความหนาผนังหลอดเลือดชั้นในและชั้นกลาง (intima-media thickness; IMT) ของ V3 และ V4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในส่วนที่ต่างกันของ V3 และ V4 นั้น พบพยาธิสภาพส่วนใหญ่อยู่ในส่วนปลายของ V3 และส่วนต้นของ V4 ซึ่งสอดคล้องกับค่าความหนา IMT ที่หนามากที่สุดในส่วนปลายของ V3 และส่วนต้นของ V4 ข้อมูลดังกล่าวแสดงถึงแนวโน้มการหนาตัวของผนังหลอดเลือดที่ส่วนปลายของ V3 และ ที่ส่วนต้นของ V4 บ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือตัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์โรคหลอดเลือดและเป็นข้อมูลในการระวังและป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดได้</p>}, number={2}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ}, author={Sanguansit, Pasinee and Siridet, Rapipan}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={33–44} }