https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2023-12-20T00:00:00+07:00 กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไป และสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักศึกษาเสนอผลงานวิชาการ</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/249480 การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่าย จากกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 2023-06-20T08:16:39+07:00 พิสรรค์ กล่อมเกลี้ยง [email protected] ปิยนุช ใจแก้ว [email protected] อรอนงค์ ผิวนิล [email protected] ณภัทร โพธิ์วัน [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ในบริเวณสถานที่กำจัดขยะแบบเทกองกลางแจ้ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสสารกลุ่มบีเทค (BTEXs) โดยใช้อุปกรณ์ครอบวัดฟลักซ์ชนิดวางติดอยู่กับที่ (Static Flux Chamber) วิเคราะห์ด้วย Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) และ Gas Chromatography-Flame Ionization Detector (GC-FID) ผลการวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยง่าย 83 ชนิด จำแนกตามโครงสร้างสารประกอบออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ แอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และฮาโลจิเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน พบความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของสารอินทรีย์ระเหยง่าย 5 อันดับ ดังนี้ โทลูอีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เอน-โนเนน ไตรคลอโรเอทิลีน และไอโซพรีน (1376.23±1219.09, 1248.40±825.41, 1229.72±424.29, 1144.63±913.63 และ 1135.22±449.81 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ) พบความเข้มข้นสารกลุ่มบีเทคในแต่ละบริเวณที่เก็บตัวอย่างทุกชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสสารกลุ่มบีเทค พบความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารชนิดก่อมะเร็ง ในเพศชายมีค่าเท่ากับ 3.74x10<sup>-5</sup> และ 4.53x10<sup>-5</sup> แต่ไม่พบความเสี่ยงของสารชนิดที่ไม่ก่อมะเร็ง ยกเว้นเบนซีนที่พบค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด จึงควรมีแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังที่เหมาะสม เพื่อให้จัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/249589 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองของสารสกัดใบกระท่อม 2023-06-10T20:11:20+07:00 ชวภณ พุ่มพงษ์ [email protected] ชยานนท์ เชาวน์วุฒิกุล [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองของสารสกัดใบกระท่อม โดยการตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ Metal chelating assay รวมถึงการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในมนุษย์ ซึ่งได้แก่ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT29) เซลล์มะเร็งช่องปาก (KB) เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF7) และเซลล์มะเร็งตับ (HepG2) ด้วยวิธี MTT assay ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดใบกระท่อมที่ความเข้มข้นต่าง ๆ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยวีธี DPPH assay มีค่า SC<sub>50</sub> เท่ากับ 43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และวิธี Metal chelating assay มีค่า MC<sub>50</sub> มากกว่า 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดใบกระท่อมก่อให้เกิดความเป็นพิษสูงสุดต่อเซลล์ HepG2 (IC<sub>50</sub>= 593 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) รองลงมาคือ เซลล์ KB (IC<sub>50</sub>= 1,178 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร), เซลล์ MCF7 (IC<sub>50</sub>= 1,412 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และเซลล์ HT29 (IC<sub>50</sub>= 2,343 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ตามลำดับ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดใบกระท่อมมีศักยภาพเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติและสามารถนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็ง อีกทั้งเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการใช้พืชกระท่อมในภูมิปัญญาไทยสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/249669 การพัฒนาแบบจำลองการค้นคืนรูปภาพเชิงความหมาย โดยใช้การฝึกฝนตัวแบบล่วงหน้าแบบคอนทราสต์ระหว่างรูปภาพและข้อความ 2023-08-30T08:59:45+07:00 จักรินทร์ สันติรัตนภักดี [email protected] ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองการค้นคืนรูปภาพเชิงความหมาย โดยใช้ การฝึกฝนล่วงหน้าแบบคอนทราสต์ ประกอบด้วย 3 โมดูล ได้แก่ 1) โมดูลการสร้างชุดคำอธิบายรูปภาพ เพื่อฝึกฝนตัวเข้ารหัสรูปภาพ และตัวเข้ารหัสข้อความตามความคล้ายคลึงโคไซน์บนพื้นที่การฝังหลายรูปแบบ ก่อนจะแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าเอาต์พุตด้วยฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์ จากนั้นจะคำนวณค่าการสูญเสียเพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลประเมินความหมายของรูปภาพจากผู้เชี่ยวชาญกับผลการพยากรณ์ความน่าจะเป็นของป้ายกำกับจากตัวแบบ เพื่อปรับพารามิเตอร์ในการเรียนรู้ความหมายของรูปภาพตามแนวคิดการแผ่กระจายย้อนหลังเพื่อเรียนรู้ซ้ำอีกครั้งด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง และถ่ายโอนการเรียนรู้เพื่อติดป้ายกำกับข้อมูลให้กับรูปภาพด้วยแนวคิดระดับสูงในรูปแบบนามธรรมของรูปภาพที่ได้จากการเรียนรู้ความคล้ายคลึงเชิงความหมาย ก่อนจะสร้างเป็นเวกเตอร์คุณลักษณะรูปภาพ 2) โมดูลการประมวลผลข้อความค้นหาจากผู้ใช้ในรูปแบบภาษาธรรมชาติสำหรับเข้ารหัสข้อความ เพื่อสร้างเวกเตอร์คุณลักษณะข้อความค้นหา 3) โมดูลการจับคู่เวกเตอร์คุณลักษณะรูปภาพและเวกเตอร์คุณลักษณะข้อความค้นหาจากค่าความคล้ายคลึงของเวกเตอร์ ก่อนจะเรียงลำดับตามความเกี่ยวข้อง และแสดงเป็นผลลัพธ์การค้นคืนรูปภาพแก่ผู้ใช้ ผลประเมินประสิทธิภาพการค้นคืนรูปภาพเชิงความหมายพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยส่วนกลับของลำดับบนชุดข้อมูล Flickr30k และชุดข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมเองมีค่าเท่ากับ 0.628 และ 0.617 ตามลำดับ ที่ตำแหน่ง k = 5 และ 2) ค่าความครบถ้วนที่ k ลำดับ จำนวน 1, 3 และ 5 รูปภาพบนชุดข้อมูล Flickr30k มีค่าความครบถ้วนเฉลี่ย 0.585, 0.664 และ 0.761 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมเองพบว่าค่าความครบถ้วนที่ k ลำดับลดลงเล็กน้อยแต่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้จะช่วยลดปัญหาช่องว่างความหมาย และช่วยสนับสนุนผู้ใช้ด้วยคำค้นหาในรูปแบบภาษาธรรมชาติที่ยึดโยงกับความหมายของรูปภาพแทนที่จะยึดตามหลักไวยากรณ์ของภาษา</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/249953 การเพิ่มประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มสำหรับพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต 2023-07-28T11:18:26+07:00 ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์ [email protected] อภินันท์ จุ่นกรณ์ [email protected] มงคล รอดจันทร์ [email protected] พุฒิยา รัตนศิริวัฒน์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคนิคแบบรวมกลุ่มสำหรับพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต การพยากรณ์ตามกฎที่นำมาใช้เปรียบเทียบในงานวิจัย จำนวน 4 เทคนิค ได้แก่ MODELM, PART, J48 และ Random Trees ได้เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ คือ Boosting Method แบบ AdaBoost ใช้ 10-fold cross validation ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นชุดข้อมูลสอนและชุดข้อมูลทดสอบ และได้ใช้ค่าความถูกต้อง ค่าความแม่นยำ ค่าความระลึก และค่าความถ่วงดุล ในการวัดประสิทธิภาพการพยากรณ์ของตัวแบบ ผลการทดลองพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่ม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ตัวแบบเพิ่มขึ้นในทุกเทคนิคที่ได้นำมาเปรียบเทียบ สรุปได้ว่าค่าความถูกต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.99 ค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.90 ค่าความระลึกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 7.05 และค่าความถ่วงดุลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.15 โดยที่ตัวแบบพยากรณ์จากอัลกอริทึม J48 ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยวิธี AdaBoost เป็นตัวแบบที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์สูงที่สุด โดยมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 89.47 ค่าความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 89.50 ค่าความระลึกเท่ากับร้อยละ 89.50 และค่าความถ่วงดุลเท่ากับร้อยละ 89.50</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/249738 การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย 2023-07-05T10:54:31+07:00 วิราวรรณ พุทธมาตย์ [email protected] วิกานดา ผาพันธ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ 4 ตัวแบบ คือ 1) การถดถอยต้นไม้ตัดสินใจ 2) การถดถอยแบบป่าสุ่ม 3) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนสำหรับการถดถอย และ 4) การถดถอยพหุนาม ในการศึกษาเบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทประกันชีวิตรายเดือนในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2560 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 72 เดือน โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ คือ เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) และ รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบการถดถอยต้นไม้ตัดสินใจ มีค่า RMSE เท่ากับ 1654.00 และ ค่า MAPE เท่ากับ 2.93% ตัวแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนสำหรับการถดถอย มีค่า RMSE เท่ากับ 5560.59 และค่า MAPE เท่ากับ 9.03% ตัวแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนสำหรับการถดถอย มีค่า RMSE เท่ากับ 6283.63 และ ค่า MAPE เท่ากับ 11.36% และ ตัวแบบการถดถอยต้นไม้ตัดสินใจ มีค่า RMSE เท่ากับ 6723.48 และ ค่า MAPE เท่ากับ 11.76% ซึ่งพบว่าตัวแบบการถดถอยต้นไม้ตัดสินใจมีประสิทธิภาพดีที่สุด แต่เนื่องจากตัวแบบการถดถอยต้นไม้ตัดสินใจ ไม่เหมาะสำหรับการพยากรณ์ในระยะยาว จึงเลือกใช้ตัวแบบ ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนสำหรับการถดถอยแทน เนื่องจากตัวแบบมีประสิทธิภาพรองลงมาและมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่นำมาใช้งาน</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/250040 อัลกอริทึมการตัดสินใจแบบใหม่สำหรับการเลือกซัพพลายเออร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2023-09-27T07:50:12+07:00 ไพโรจน์ เยียระยง [email protected] <p>เซตวิภัชนัย (FS) เซตวิภัชนัยแบบสหัชญาณ (IFS) เซตวิภัชนัยปีทาโกรัส (PFS) เซตวิภัชนัยเฟอร์มาแทน (FFS) และเซตวิภัชนัย -รุงออร์โทแพร์ถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของเซตวิภัชนัย -รุงออร์โทแพร์ ( -ROFS) ดังนั้น -ROFS จึงเป็นเซตที่ครอบคลุมมากกว่าเซตดังกล่าวข้างต้น ในบทความนี้ได้ตรวจสอบปัญหาการตัดสินใจหลายคุณลักษณะ (MADM) ตามการดำเนินการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักวิภัชนัย -รุงออร์โทแพร์พร้อมด้วยข้อมูลวิภัชนัย -รุงออร์โทแพร์จากนั้นได้ใช้ตัวดำเนินการเหล่านี้เพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาการตัดสินใจหลายคุณลักษณะแบบวิภัชนัย -รุงออร์โทแพร์ สุดท้ายได้ให้ตัวอย่างการปฏิบัติสำหรับการเลือกซัพพลายเออร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีไว้เพื่อตรวจสอบแนวทางที่พัฒนาขึ้น</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/250477 องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรสของสมุนไพรไทย 2023-08-26T17:47:41+07:00 คงเดช สวาสดิ์พันธ์ [email protected] สิริวัฒน์ บุญชัยศรี [email protected] ดามรัศมน สุรางกูร [email protected] อัญชนา ปรีชาวรพันธ์ [email protected] ภรภัทร สำอางค์ [email protected] <p>โรคอัลไซเมอร์ จัดเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ในปัจจุบันแนวทางการรักษาของโรคอัลไซเมอร์คือ การเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีนในสมองโดยใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรส งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรสจากสมุนไพรไทยทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ใบเหลียง ใบมะม่วง หิมพานต์ ใบบัวบก ใบมะรุม ใบมะกอก ใบมันปู และใบหมุย ที่ถูกสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลและวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีของสารสกัดที่ออกฤทธิ์ด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี/แมสสเปกโทรเมทรี เนื่องจากมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์นี้ค่อนข้างน้อย พบว่าสารสกัดใบมะม่วงหิมพานต์แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรสสูงที่สุดด้วย ค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 181 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการวิเคราะห์แมสสเปกตรัมของสารสกัดใบมะม่วงหิมพานต์เปรียบเทียบกับสารสกัดใบมันปูและสารสกัดใบเหลียงที่แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งปานกลางและน้อย พบสารประกอบฟลาโวนอยด์ (isorhamnetin-3-O-glucoside, 3'-O-methyl-(-)-epicatechin-7-O-sulphate และ apigenin 7-sulfate), สารประกอบฟีนอลิก (4-O-methylgallic acid) และสารประกอบ phosphatidylcholine ที่คาดว่าเป็นองค์ประกอบหลักของสารสกัดใบมะม่วงหิมมานต์ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรส จากผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดใบมะม่วงหิมพานต์สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารเสริมทางการแพทย์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ต่อไปได้</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/250204 Antioxidant Activity and Phenolic Content in Herbal Tea in Inflorescences and Mango (Mangifera indica) Leaves 2023-09-28T19:59:27+07:00 Sirawan Ruangchuay Tuprakay [email protected] Parinda Suksabye [email protected] Ubol Chuensumran [email protected] <p>The mango (<em>Mangifera indica</em>) fruit is an economic fruit. Thailand is the third-largest mango exporter after the Philippines and Mexico. Mango leaves are reported to have anti-inflammatory properties, blood sugar lowering effect, and blood lipid-lowering effect. Mango leaves are generally not being interested much and considered waste in agriculture despite their medicinal properties. To create a herbal tea for health enhancement extracts from mango leaves and inflorescences were examined in this study. The investigation of the antioxidant properties of crude mango inflorescence and leaf extracts was determined to examine the antioxidant activities of crude extracts, two tests were performed: 1) scavenging capacity, such as the ability to eliminate or suppress free radicals, as measured by the DPPH method, and 2) the ability to function as an electron donor or what is called a “reducing agent”. The FRAP test revealed that tea made from Man Duan Kao mango leaves had the highest anti-oxidant activity (53.65 0.70 g FeSO<sub>4</sub>/100 g tea powder), and it was discovered that mango inflorescences deliver more antioxidants than leaves (57.60 1.49 g FeSO<sub>4</sub>/100 g tea powder). The total phenolic and flavonoid contents of the crude extracts of tea from mango inflorescences and leaves revealed that tea from <em>Mangifera indica</em> leaves tended to have a higher total phenolic content. The largest levels of catechins and flavonoids were identified in both green and oolong tea, while mango inflorescence tended to provide overall phenolic content and more flavonoids than leaves, which results in consistent outcomes. Colorimetric examination (CIE-Lab) showed no variation in b*, C*, and h values, except an increase in illuminance (L*) values for samples cured for shorter treatment durations inversely related to the value of redness (a*) in samples undergoing a lengthy preparation procedure.</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ