วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไป และสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักศึกษาเสนอผลงานวิชาการ</p> มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2985-1653 <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ</p> <p> </p> การเพิ่มประสิทธิภาพของตัวประมาณอัตราส่วนร่วมกับผลคูณสำหรับการประมาณค่าเฉลี่ยประชากรในการสำรวจตัวอย่าง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/256281 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและนำเสนอตัวประมาณอัตราส่วนร่วมกับผลคูณ สำหรับการประมาณค่าเฉลี่ยประชากร ในการสำรวจตัวอย่าง โดยใช้สารสนเทศจากตัวแปรช่วย ภายใต้วิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่ายแบบไม่ใส่คืน ซึ่งตัวประมาณที่นำเสนอนี้จะมีความครอบคลุมตัวประมาณตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกตัวที่ศึกษาในงานวิจัย อีกทั้งผู้วิจัยจะทำการศึกษาคุณสมบัติที่สำคัญบางประการของตัวประมาณนำเสนอขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย และค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุด จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณที่นำเสนอขึ้นมาใหม่กับตัวประมาณตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในทางทฤษฎี การประยุกต์จากข้อมูลจริง และการจำลองข้อมูล โดยจะพิจารณาจากค่าร้อยละประสิทธิภาพสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า ภายใต้สถานการณ์ที่ศึกษาเดียวกัน ตัวประมาณนำเสนอขึ้นมาใหม่ประสิทธิภาพดีกว่าตัวประมาณตัวอื่น ๆ ที่ทำการศึกษาทั้งหมด ซึ่งผลที่ได้มีความสอดคล้องทั้งทางทฤษฎี การประยุกต์จากข้อมูลจริง และการจำลองข้อมูล</p> ณภัทณ์จันทร์ ด่านสวัสดิ์ เอกภพ เกตุสมบูรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-18 2025-02-18 11 1 15 26 การสังเคราะห์ การวิเคราะห์คุณลักษณะและประสิทธิภาพการกักเก็บสารของอนุภาคลิโพโซมสำหรับสารประกอบกลุ่มแคปไซซินอยด์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/256521 <p>อนุภาคลิโพโซมมีลักษณะเป็นถุงกลมประกอบด้วยชั้นลิพิดสองชั้นล้อมรอบน้ำที่เป็นแกนกลางประโยชน์ของอนุภาคลิโพโซมสามารถกักเก็บสารสำคัญไว้ในอนุภาคเพื่อป้องการการเสื่อมสลายเพิ่มความคงตัวและช่วยลดความเป็นพิษจากการใช้สารสำคัญโดยตรง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์อนุภาคลิโพโซมกักเก็บแคปไซซินอยด์(แคปไซซินไดไฮโดรแคปไซซินและนอร์ไดไฮโดรแคปไซซิน) ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอักเสบลดการปวดแต่มีข้อจำกัดในด้านการเสื่อมสภาพและความเป็นพิษจากการใช้แคปไซซินอยด์ ทำการทดลองโดยสังเคราะห์อนุภาคลิโพโซมด้วยวิธีระเหยกลับวัฏภาคโดยใช้ฟอสโฟลิพิดเข้มข้น 1.0 %w/v ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ขนาดอนุภาค การกระจายตัวของขนาดอนุภาค และประจุบนผิวอนุภาคด้วยเทคนิคการกระเจิงแสงแบบพลวัต ศึกษาสันฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ตรวจสอบประสิทธิภาพการกักเก็บด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง และศึกษาความคงตัวของอนุภาคลิโพโซมที่เวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าอนุภาคลิโพโซมที่สังเคราะห์ได้มีลักษณะเป็นสารผสมเนื้อเดียวสีเหลือง สัณฐานวิทยามีรูปร่างเป็นทรงกลม ขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 409 - 560 nm ค่าการกระจายตัวของขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.30 ถึง 0.34 และมีค่าประจุบนผิวอนุภาคตั้งแต่ -41 ถึง -55 mV ประสิทธิภาพการกักเก็บแคปไซซินอยด์ไว้ในอนุภาคลิโพโซมพบว่าแคปไซซินถูกกักเก็บได้มากที่สุด รองลงมาคือไดไฮโดรแคปไซซิน และนอร์ไดไฮโดรแคปไซซิน มีประสิทธิภาพการกักเก็บ ร้อยละ 92.39 ± 11.02, 58.17 ± 9.24 และ 34.95 ± 2.80 ตามลำดับ อนุภาคลิโพโซมมีความคงตัวสูงสุดที่เวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าอนุภาคลิโพโซมที่สังเคราะห์ได้มีขนาดอนุภาคสม่ำเสมอ มีความเสถียรที่ดีไม่เกาะกลุ่มและรวมตัวกันตกตะกอน และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บแคปไซซินที่สูงสามารถนำอนุภาคลิโพโซมที่ได้ไปต่อยอดได้ในอนาคต</p> สุวัชชัย มิสุนา นิรมล ศรีชนะ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-04 2025-03-04 11 1 27 39 Production Planning for Pineapple Canned with Reinforcement Learning https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255855 <p>Pineapple is a significant economic crop in Thailand, and the pineapple processing industry is crucial for farmers, manufacturers, and customers. Production planning is challenging due to the complexity of customer demands and the increasing uncertainty of fresh pineapple yields. The researcher studied and experimented with algorithms for production planning for canned pineapple using reinforcement learning. The objective was to optimize production planning by finding the best values for just-in-time scheduling through reinforcement learning, based on the Markov Decision Process (MDP) used for sequential decision-making. After analyzing the problem and recognizing that production planning has such characteristics, the researcher proceeded as follows: 1) Designed a dataset from case study data and defined the objective function. 2) Developed a reinforcement learning model using the Advanced Actor Critic (A2C) algorithm to create the production plan for the case study. 3) Tuned the model's parameters, trained the model, and tested it. 4) Evaluated the model and found that the reward or the defined objective function increased by at least 40% compared to the initial model. Additionally, the sellable products' readiness improved by 120%, and the discrepancy between expected and actual returns decreased by 19% compared to the initial machine learning model.</p> Payungsak Klasantia Noppadol Amm-Dee Chidchanok Choksuchat Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-04 2025-03-04 11 1 40 52 สาหร่ายขนาดใหญ่และแนวทางประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255398 <p>สาหร่ายขนาดใหญ่ หรือ สาหร่ายทะเล เป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย โดยสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารได้ เนื่องด้วยสาหร่ายทะเลในรูปแบบสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน จึงมีรายงานการศึกษากระบวนการทำแห้งสาหร่ายและผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและคงคุณสมบัติสำคัญของสาหร่าย อีกทั้งยังมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการทางอาหารที่หลากหลาย จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติทางชีวภาพที่สำคัญได้ บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำแห้งสาหร่ายทะเลและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยครอบคลุมถึงสาหร่ายขนาดใหญ่ หรือ สาหร่ายทะเล แปรรูปสาหร่ายทะเลโดยใช้เทคนิคการทำแห้ง คุณค่าทางอาหารและคุณสมบัติเชิงชีวภาพต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ และแนวทางการประยุกต์ใช้สาหร่ายทะเลในผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณสมบัติเชิงหน้าที่ โดยเน้นที่สาหร่ายทะเลสีแดงซึ่งประกอบด้วยโปรตีน ไฟโคอิริทริน ตลอดจนกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารจากสาหร่ายทะเลในปัจจุบัน</p> กิติยา ตรีเย็น พรรษมน แจ่มสกุล วนิดา ปานอุทัย Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-07 2025-01-07 11 1 1 14