วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไป และสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักศึกษาเสนอผลงานวิชาการ</p> th-TH <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ</p> <p> </p> hcujournal.sci@gmail.com (กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) hcujournal.sci@gmail.com (กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) Tue, 09 Jul 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบำบัดความคิดและพฤติกรรมในเด็กที่มีความโกรธและความก้าวร้าว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253736 <p>การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นจิตบำบัดประเภทหนึ่งที่นำมารักษาผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันความโกรธและความก้าวร้าวในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นดังเห็นได้จากข่าวสารและสื่อสังคมต่าง ๆ บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในเด็ก โดยมุ่งเน้นที่เด็กอายุ 8-16 ปี ที่มีความโกรธและความก้าวร้าวในฐานข้อมูลระดับชาติและนานาชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2567 ผลการทบทวนพบว่า วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในเด็กที่มีความโกรธและความก้าวร้าว ประกอบไปด้วย 3 วิธี ได้แก่ วิธีการเรียนรู้ด้านอารมณ์ วิธีการจัดการปัญหา และวิธีการพัฒนาทักษะ ซึ่งแต่ละวิธีมีเทคนิคย่อยเพื่อเสริมให้บรรลุผลสำเร็จ โดยบทความวิชาการนี้ผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์จริงจากการเป็นนักบำบัดร่วมกับผลจากการทบทวนความรู้ สรุป และบรรยายเนื้อหาทั้ง 3 วิธีดังกล่าวรวมถึงเทคนิคย่อย พร้อมยกตัวอย่างการนำไปใช้ในเด็กที่มีความโกรธและความก้าวร้าว ดังนั้นบทความนี้จึงเหมาะกับพยาบาล นักบำบัด บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปที่ต้องการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ CBT เพื่อใช้ในการบำบัดเด็กที่มีความโกรธและความก้าวร้าวต่อไป</p> ศิลป์ไทย ธรรมเรืองฤทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253736 Fri, 12 Jul 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองกับการสกัดสารจากมันเทศสีม่วง (Ipomoea batatas L.) ด้วยน้ำที่มีสภาพเป็นกรดสำหรับเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253687 <p>มันเทศสีม่วง (Purple sweet potatoes, PSP) เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากมาย โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการผลิตและการนำเข้าที่มากขึ้นส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาด้านราคาที่ตกต่ำ ซึ่ง PSP สามารถนำมาผ่านกระบวนการเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก PSP ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) โดยมีตัวแปรต้นประกอบด้วยอัตราส่วนของน้ำที่มีสภาพเป็นกรดต่อมันเทศสีม่วง (A: 20-60 มิลลิลิตรต่อกรัมผงมันเทศสีม่วง) ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก (B: ร้อยละ 0.2-0.6) เวลาที่ใช้ในการสกัด (C: 1.0-5.0 ชั่วโมง) และอุณหภูมิที่ใช้ในการสกัด (D: 20.0-60.0 องศาเซลเซียส) ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนของน้ำที่มีสภาพเป็นกรดต่อมันเทศสีม่วง ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก เวลาที่ใช้ในการสกัด และอุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดมีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC, Y<sub>TPC</sub>) ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC, Y<sub>TFC</sub>) แอนโทไซยานินทั้งหมด (TAC, Y<sub>TAC</sub>) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP, Y<sub>FRAP</sub>) และ 2,2’-azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) (ABTS<sup>•+</sup>, Y<sub>ABTS•+</sub>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.05) ซึ่งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์กำลังสองที่ได้จากผลการทดลองมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.0001) มีค่า <em>R</em><sup>2</sup> เท่ากับ 0.9895, 0.9940, 0.9855, 0.9966 และ 0.9912 ตามลำดับ สำหรับผลตอบสนอง Y<sub>TPC</sub>, Y<sub>TFC</sub>, Y<sub>TAC</sub>, Y<sub>FRAP</sub> และ Y<sub>ABTS</sub><sup>•+</sup> ซึ่งบ่งบอกถึงความสอดคล้องกันระหว่างค่าที่ได้จากการทดลองจริงและค่าที่ได้จากการทำนาย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมของการสกัดด้วยน้ำที่มีสภาพเป็นกรดได้ปริมาณ TPC, TFC, TAC, FRAP และ ABTS<sup>•+</sup> เท่ากับ 6.28 mg GAE/g PSPP, 5.50 mg RE/g PSPP, 1.48 mg CGE/g PSPP, 11.26 mg TE/g PSPP และ 2.97 mg TE/g PSPP ตามลำดับ มีค่าร้อยละความผิดพลาด 0.64-2.70 และมีค่าความพึงพอใจโดยรวมของผลตอบสนอง 0.972 ผลจากการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากมันเทศสีม่วงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่มีศักยภาพ ซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารฟังก์ชัน สารสีธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้</p> สุพิชญา คำคม, พิทยา ใจคำ, พิชิต โชดก Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253687 Tue, 09 Jul 2024 00:00:00 +0700 การประเมินวอเตอร์ฟุตพรินท์และน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดของประเทศไทย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253993 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวอเตอร์ฟุตพรินท์ของการปลูกมะเขือเทศและเพื่อประเมินน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดของประเทศไทยปี พ.ศ. 2563 โดยการประเมินแบ่งออกเป็น วอเตอร์ฟุตพรินท์สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเทา ผลการศึกษาพบว่า การปลูกมะเขือเทศในฤดูกาล จังหวัดที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพรินท์รวมทั้งหมดน้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน (244.50 ลบ.ม.ต่อตัน) รองลงมาคือ หนองคาย (246.51 ลบ.ม.ต่อตัน) และสกลนคร (251.91 ลบ.ม.ต่อตัน) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายประเภทของวอเตอร์ฟุตพรินท์พบว่า การปลูกมะเขือเทศมีการใช้น้ำสีน้ำเงินมากที่สุด รองลงมาคือ สีเทา และสีเขียว ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินมีความจำเป็นมากต่อการปลูกมะเขือเทศ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ปลูกมะเขือเทศยังไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามปกติ ส่วนปริมาณน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์สุทธิที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดพบว่ามีค่าเท่ากับ 163,692.61 ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์นี้ได้ไหลไปยังประเทศสิงคโปร์มากที่สุด รองลงมาคือ เมียนมาร์ และมาเลเซีย ตามลำดับ โดยน้ำถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประชาชนในประเทศ ในกรณีที่ประเทศผู้ส่งออกประสบภัยแล้งหรือมีปริมาณน้ำใช้ภายในประเทศน้อยอาจจำเป็นต้องวางแผนการผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อการส่งออกในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการบริโภคน้ำภายในประเทศ</p> มนัสวี พานิชนอก, สรัญญา ถี่ป้อม, นภาพร มีสะอาด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/253993 Thu, 18 Jul 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบการพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทยโดยตัวแบบ ARIMA และ ARIMAX https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254076 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคจากตัวแบบ ARIMA และตัวแบบ ARIMAX โดยผลการพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจกำหนดนโยบายการเงินและการคลัง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลาแบบรายเดือนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยตัวแปรอิสระที่ใช้ในการวิเคราะห์ตัวแบบ ARIMAX ได้แก่ ดัชนีแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แท้จริง อัตราการว่างงานของคนในประเทศไทย ดัชนีค้าปลีกของประเทศไทย ดัชนีค้าส่งของประเทศไทย และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทย โดยผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์สามารถอธิบายได้โดยการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ คือ ค่าเบี่ยงเบนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAD) ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) และ ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เพื่อหาตัวแบบที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และยังทำการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<em>-</em>Squared) เพื่ออธิบายประสิทธิภาพในการพยากรณ์อีกด้วย ผลจากการศึกษาพบว่าตัวแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ตัวแบบ ARIMAX(2,1,(1,11)) ที่มีดัชนีค้าส่งของประเทศไทยเป็นตัวแปรอิสระในการพยากรณ์ ซึ่งให้ค่า MAD, MSE, MAPE (<em>%</em>) และ R<em>-</em>Squared (<em>%</em>) เท่ากับ 0<em>.</em>4216, 0<em>.</em>3435, 0<em>.</em>4166 <em>% </em>และ 84<em>.</em>1019 <em>% </em>ตามลำดับ</p> กานต์ณัฐ ณ บางช้าง, วันอากีฟร์ วันยะฟาร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254076 Fri, 20 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลของสารสกัดสมุนไพรและการพัฒนาตำรับครีมสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254984 <p>การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง <em>S. aureus</em> และพัฒนาตำรับครีมสมุนไพร จากสารสกัดสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ใบกุ่มบก (<em>Crateva adansonii</em> DC.) ดอกกระเจียวแดง (<em>Curcuma sessilis </em>Gage.) ใบขันทองพยาบาท (<em>Suregada multiflorum</em> Baill.) ใบตำลึงทอง หรือกระทกรก (<em>Passiflora foetida</em> L.) และใบน้อยหน่า (<em>Annona squamosa</em> Linn.) ด้วยเอทานอลร้อยละ 70, 95 และน้ำ ทดสอบการต้านเชื้อ <em>S. aureus </em>และพัฒนาตำรับครีมพื้น 4 สูตร นำสูตรที่มีค่าความคงตัวทางกายภาพและชีวภาพเหมาะสมที่สุดมาผสมสารสกัดสมุนไพรในสัดส่วนต่างกัน 4 ตำรับ และทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อ <em>S. aureus</em> ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดใบน้อยหน่าด้วยการต้มให้ร้อยละของผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ ใบตำลึงทองและดอกกระเจียวแดง (ร้อยละ 10.88, 5.59 และ 4.81 ตามลำดับ) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ <em>S. aureus</em> ด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่าสารสกัดใบกุ่มบกด้วยเอทานอลร้อยละ 95 ที่ความเข้มข้น 666.60 µg/ml มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดีที่สุด (18.67±1.53 mm) รองลงมาคือ สารสกัดดอกกระเจียวแดงด้วยน้ำ และสารสกัดใบขันทองพยาบาทด้วยเอทานอลร้อยละ 70 (13.33±1.53 mm และ 10.67±1.15 mm) ค่า MIC ของสารสกัดใบกุ่มบกและใบขันทองพยาบาทเท่ากับ 500 µg/ml และค่า MBC มากกว่า 5 mg/ml สูตรครีมพื้นที่ 4 มีค่าความคงตัวเหมาะสมที่สุด ส่วนตำรับครีมสมุนไพรที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดใบกุ่มบกและใบขันทองพยาบาทในอัตราส่วน 1:1 (ร้อยละ 36 ในตำรับครีม) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดีที่สุด (15.33±4.51 mm) เทียบกับยา Dicloxacillin (36.25±0.54 mm, 40 µg/ml) ดังนั้นสารสกัดใบกุ่มบกด้วยเอทานอลร้อยละ 95% และใบขันทองพยาบาทด้วยเอทานอลร้อยละ 70 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ <em>S. aureus</em> สูงสุด และเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นตำรับครีมสมุนไพร</p> นฤวัตร ภักดี, จตุพร ประทุมเทศ, ภานิชา พงศ์นราทร, สุรพงศ์ รัตนะ, รณชัย ภูวันนา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254984 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 ระบบเฝ้าระวังอาการก่อนคลอดของแม่สุกร โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254947 <p>งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการก่อนคลอดของแม่สุกรด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และศึกษาพฤติกรรมแม่สุกรในฟาร์มสุกรที่จังหวัดนครปฐม โดยใช้อัลกอริทึม YOLOv7 และ Deep SORT ในการตรวจจับและติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ จากนั้นแสดงผลไปยังโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไซต์และแจ้งเตือนความผิดปกติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ จากการทดสอบความถูกต้องและแม่นยำโดยเปรียบเทียบกับการนับจำนวนด้วยคนพบว่า การประมวลผลภาพและท่าทางมีความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 96.34 ส่วนการแจ้งเตือนผู้เลี้ยงสุกรมีความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 96.50 แสดงให้เห็นว่าระบบนี้สามารถใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมคอกสุกรทั่วไป อย่างไรก็ตามหากต้องการนำไปใช้ในโรงเรือนภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปรับการเรียนรู้ของโมเดลจากฟาร์มสุกรในสถานที่จริงอีกครั้งเพื่อให้เกิดความแม่นยำในการตรวจจับมากขึ้น</p> สุธีรา พึ่งสวัสดิ์, จันเพ็ญ บางสำรวจ, พงศกร บำรุงไทย, พันธกร พนาพิทักษ์กุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/254947 Thu, 24 Oct 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำบาดาลบริเวณโดยรอบสถานที่ฝังกลบขยะชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255391 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู แคดเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล และตะกั่วในน้ำบาดาลบริเวณสถานที่กำจัดขยะองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก 2) ประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้ประโยชน์น้ำบาดาล โดยการดำเนินงานวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ 1) เก็บตัวอย่างน้ำบาดาลด้วยวิธีการแบบจ้วงจากบ่อสังเกตการณ์ด้วยเบลเลอร์ 2) สกัดโลหะหนักในน้ำบาดาลด้วยกรดตามวิธีการสกัดด้วยไมโครเวฟ และวิเคราะห์ด้วยเครื่องอินดักทีฟ คัปเปิลพลาสมา-อะตอมมิกอิมมีสชัน สเปกโตรสโกปี (ICP-AES) ตามวิธีมาตรฐาน USEPA 3015A และ USEPA 6010D ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์การปนเปื้อน พบว่าชนิดของโลหะหนักที่ไม่เกินค่ามาตรฐานการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำบาดาลของ USEPA, WHO และ NOAA คือ แคดเมียม ทองแดง นิกเกิล และ ตะกั่ว ทั้ง 2 ฤดูกาล ชนิดของโลหะหนักและร้อยละของจำนวนตัวอย่างที่มีค่าเกินมาตรฐานโลหะหนักในน้ำบาดาลของ USEPA, WHO และ NOAA คือ สารหนู (100%) แมงกานีส (50%) ในฤดูแล้ง และ สารหนู (50%) แมงกานีส (75%) ในฤดูน้ำหลาก ผลการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพรวมจากโลหะหนักรวมที่ก่อให้เกิดโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งและก่อให้เกิดมะเร็ง พบว่าการใช้ประโยชน์น้ำบาดาลก่อให้เกิดความเสี่ยงทางสุขภาพทั้ง 2 ฤดูกาล โดยมีค่าความเสี่ยงสูงสุดในเด็กจากตัวอย่างน้ำบาดาลในฤดูแล้ง โดยมี Hazard index (HI) = 35.85 และ Total carcinogenic risk (TCR) = 0.16 ดังนั้นข้อมูลงานวิจัยนี้จึงมีประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับนำไปใช้ในการจัดการสถานที่กำจัดขยะให้ดีขึ้นเพื่อลดการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำบาดาลและลดความเสี่ยงทางสุขภาพ </p> สมคิด ตันเก็ง, ศิรภัสสร พันธะสา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255391 Sun, 27 Oct 2024 00:00:00 +0700 ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนเพสต์ที่ปรับปรุงด้วยถ่านชีวภาพสำหรับวิเคราะห์ปริมาณไอออนตะกั่วในสารละลายด้วยวิธีโพเทนชิโอเมตรี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255240 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการประกอบขั้วไฟฟ้าคาร์บอนเพสต์ที่ปรับปรุงด้วยถ่านชีวภาพเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณไอออนตะกั่วในสารละลายด้วยวิธีโพเทนชิโอเมตรี การตรวจหาคุณลักษณะของถ่านชีวภาพที่ใช้ประกอบขั้วไฟฟ้าสามารถศึกษาได้โดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ (X-ray diffraction, XRD), เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบลำแสงส่องกราด (scanning electron microscope, SEM) กับการวิเคราะห์ธาตุและองค์ประกอบด้วยเทคนิค energy dispersive X-ray spectroscopy (EDS) และเทคนิคการวิเคราะห์ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ (elemental analysis, EA) จากการวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างผลึกของถ่านชีวภาพนี้มีเฟสของคาร์บอนอสัณฐาน และแกรไฟต์ โดยมีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุนและมีองค์ประกอบของธาตุคาร์บอนมากที่สุด คือ ร้อยละ 89.46 และออกซิเจนร้อยละ 9.60 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ โดยพบธาตุคาร์บอนและออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลักเท่ากับ ร้อยละ 75.58 และออกซิเจนร้อยละ 22.18 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโพเทนชิโอเมตรีพบว่าขั้วไฟฟ้านี้มีการตอบสนองต่อไอออนตะกั่วที่ดีโดยมีค่าความชันเท่ากับ 30.361.21 mV ซึ่งเป็นไปตามสมการเนินสต์ ความเข้มข้นต่ำสุดของไอออนตะกั่วที่สามารถวิเคราะห์ได้ (limit of detection, LOD) เท่ากับ 5.69x10<sup>-6</sup> M และช่วงความเข้มข้นที่วิเคราะห์ได้เป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 5x10<sup>-5</sup>- 0.1 M อัตราส่วนของการประกอบขั้วไฟฟ้าชนิดนี้มีอัตราส่วนของถ่านชีวภาพ:แกรไฟต์:น้ำมันนูจอล เท่ากับ 28:12:60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ขั้วไฟฟ้าชนิดนี้มีความเที่ยงและมีความเลือกจำเพาะต่อไอออนตะกั่วที่ดี</p> ธนวัฒน์ พงษ์ศักดิ์, อรนวล หาญเม่ง, เขมาวดี อุดมพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255240 Wed, 06 Nov 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพการสุ่มเพิ่มข้อมูลสำหรับข้อมูลไม่สมดุลในการจำแนกประเภท https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255324 <p>การดำเนินงานกับปัญหาการจำแนกประเภท ข้อมูลที่ไม่สมดุลเป็นความท้าทายที่พบได้บ่อย ซึ่งตัวจำแนกประเภทมีแนวโน้มที่จะจำแนกหน่วยตัวอย่างใหม่เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ ทำให้การทำนายกลุ่มส่วนน้อยมีประสิทธิภาพต่ำ ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาข้อมูลไม่สมดุล การสุ่มเพิ่มข้อมูลเป็นวิธีการหนึ่งที่ไม่ซับซ้อนในการจัดการกับข้อมูลไม่สมดุล แต่หน่วยตัวอย่างที่ถูกสุ่มซ้ำบางตัวอาจไม่ได้เป็นหน่วยตัวอย่างที่สำคัญต่อการจำแนกประเภท งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการใหม่ในการจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วย Hotelling Important Data Point Oversampling Algorithm (HIDPO) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการสุ่มเพิ่มข้อมูล วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกประเภท เมื่อใช้ข้อมูลดั้งเดิม ข้อมูลจากการสุ่มเพิ่มข้อมูลระหว่างวิธีสุ่มเพิ่มข้อมูลกลุ่มส่วนน้อย (Random Oversampling: ROS) และวิธีที่นำเสนอใหม่ HIDPO บนข้อมูลจำลอง 96 สถานการณ์ของ 4 พารามิเตอร์ ได้แก่ 1) อัตราความไม่สมดุล (IR) 2) จำนวนตัวแปรทำนายที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภท (RelVar) 3) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรทำนายที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกระหว่างกลุ่มส่วนน้อยกับกลุ่มส่วนใหญ่ (ClassDif) และ 4) ขนาดตัวอย่าง (n) โดยจำแนกประเภทด้วยการสร้างตัวแบบการถดถอย ลอจิสติก ผลการทดลองพบว่า วิธี HIDPO ให้ค่าการวัดเอฟสูงสุดในสถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันน้อยระหว่างกลุ่มส่วนน้อยและกลุ่มส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อมีความไม่สมดุลกันมาก อันเป็นสถานการณ์ที่มีความยากในการจำแนกประเภท ส่วนอัตราความถูกต้องในการทำนายกลุ่มส่วนน้อย และอัตราความถูกต้องในการทำนายกลุ่มส่วนใหญ่ วิธี HIDPO ให้ค่าปานกลาง</p> นพมาศ อัครจันทโชติ, ศิลา เต็มศิริฤกษ์กุล, วรนุช มีภูมิรู้, ยุวธิดา ชิวปรีชา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/255324 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700