https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2024-06-29T14:26:02+07:00 ผศ.ดร.ธนกฤต โชติภาวริศ thanakrit.cho@stou.ac.th Open Journal Systems <p>1. เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและผลงานวิชาการให้ทันสมัยและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง<br />2. เพื่อเป็นสื่อกลางและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ<br />3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254777 ปก 2024-06-29T13:26:59+07:00 somphon pengranai somphon.pen@stou.ac.th <p>-</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254781 ส่วนหน้า 2024-06-29T13:39:42+07:00 somphon pengranai somphon.pen@stou.ac.th <p>-</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254782 สารบัญ 2024-06-29T13:42:11+07:00 somphon pengranai somphon.pen@stou.ac.th <p>-</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254249 ระบบตรวจจับวัตถุและจำแนกแยกแยะประเภทของสินค้าจากภาพถ่ายด้วยการยืนยันผ่านเทคนิค OCR ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ข้อมูลที่ไม่สมดุล 2024-05-27T15:34:32+07:00 นพวรรณ ชื่นอารมณ์ noppawan.chu@stou.ac.th ฐากร พฤกษวันประสุต takorn.pre@stou.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและเพิ่มประสิทธิภาพของการจำแนกและตรวจจับวัตถุในตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างพิธีการทางศุลกากรโดยใช้ภาพถ่ายบรรจุภัณฑ์ จากรูปภาพ 5,113 รูปที่เก็บจากบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 3 แห่งในกรุงเทพฯ โดยใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อจำแนกสินค้าเป็น 5 ประเภท พบว่าอัลกอริทึม YOLOv4 มีความแม่นยำสูงสุดเมื่อไม่ใช้เทคนิค Resampling ในขณะที่เทคนิค Resampling เช่น SMOTE และ Borderline SMOTE ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจำแนกในกรณีข้อมูลไม่สมดุล เทคนิค Undersampling ไม่เพิ่มความแม่นยำเนื่องจากทำให้ข้อมูลสำคัญสูญหาย การผสมผสานการตรวจจับวัตถุและ OCR ช่วยให้ระบบสามารถระบุประเภทสินค้าจากภาพถ่ายได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น กลไกที่เสนอในงานวิจัยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกระบวนการพิธีการทางศุลกากร</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254690 การสร้างธุรกิจเพื่อสังคมในรูปแบบการบำบัดพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยใช้แอพพลิเคชั่น "Sati" 2024-06-25T13:36:01+07:00 อารยา แสงมหาชัย araya.sa@o365.bsru.ac.th <p>ภาวะโรคซึมเศร้า เป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่ได้รับการรักษาอาการอาจจะติดต่อกันเป็นเดือนซึ่งมักเกิดจากเมื่อมีความเครียดสะสมอยู่นานๆ สารเคมีในร่างกายและสมองลดจำนวนลงหรือทำหน้าที่ไม่ปกติ ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคความดัน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยหรือติดตั้งเชื่อได้ง่าย ตามด้วยอารมณ์ ท้อแท้ ซึมเศร้า สาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นประกอบด้วย ความเครียดสะสม การสูญเสียครั้งใหญ่ สภาพจิตใจที่เกิดขึ้นจาการเลี้ยงดู ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น และความเสี่ยงทางพันธุกรรม อาการภาวะโรคซึมเศร้า มีอารมณ์ซึมเศร้า อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวัง เบื่ออาหารหรือนอนไม่หลับหรือหลับมากไป คิดอยากตายหรือทำร้ายตัวเอง ความสนใจในกิจกรรมต่างๆแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก สมองไม่ชัดเจน ใจลอย ลังเลใจไปหมด กระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง ภาวะโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1. โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว และ 2. โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือเรียกว่า ไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสีย วิธีการรักษาโดยการ ใช้ยาด้านซึมเศร้า ใช้การบำบัด รักษาด้วยไฟฟ้า และปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันภาระซึมเศร้าที่ตายตัว แต่หากสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยควรจะควบคุมอารมณ์ ความเครียด ยืดหยุ่น และนับถือตนเอง พยายามพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อน หรือแอพพลิเคชั่น Sati ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้า หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นภาวะโรคซึมเศร้าก็สามารถเข้ามาปรึกษาได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และกิจการเพื่อสังคม โดยมีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา อาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว ที่จะช่วยค่อยรับฟังเพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเครียดรู้สึกว่ามีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับแชร์ความรู้สึก และรู้สึกว่ายังมีคนคอยรับฟังอย่างเข้าใจ และสำคัญที่สุดคือควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ควรเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้ภาระซึมเศร้าเกิดซ้ำ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/254786 ส่วนท้าย 2024-06-29T14:16:49+07:00 somphon pengranai somphon.pen@stou.ac.th <p>-</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช