@article{สมะวรรธนะ_2022, title={การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย: Provision of Learning Experiences through Research Process for Developing Science Process Skills of Early Childhood}, volume={3}, url={https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/246429}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย และเพื่อศึกษาระดับทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสาร หลังการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนกาวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2.1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .05 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One–Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( .) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t –test แบบ Dependent Samples</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า<br>1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br>2. เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์กระบวนการวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ รายด้านดังนี้<br>2.1 ด้านการสังเกต หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 <br>2.2 ด้านการจำแนก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br>2.3 ด้านการสื่อสาร หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>}, number={1}, journal={คุรุสภาวิทยาจารย์}, author={สมะวรรธนะ สวาท}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={92–102} }