TY - JOUR AU - เมฆขยาย, ศุภากร PY - 2021/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน JF - คุรุสภาวิทยาจารย์ JA - JTPD VL - 2 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/243474 SP - 93-106 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร โดยมีขั้นตอนดำเนินการ สำคัญคือ&nbsp; 1) ศึกษาเอกสารข้อมูลสภาพและรูปแบบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร 2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นและการกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ประชากรในการวิจัยเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นโรงเรียนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ด้านการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพ จำนวน 10 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอนวิชาทักษะอาชีพ ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียนที่ศึกษาในสถานศึกษา การสนทนากลุ่มได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)&nbsp; การวิเคราะห์โดยการจำแนกประเภทข้อมูล (Typological Analysis) การเปรียบเทียบข้อมูล(Comparison) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction)</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพมีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากจะเป็นการปลูกฝังทักษะการทำงานให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีทักษะในการปฏิบัติจริง สามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตรวมถึงยังเป็นการสร้างทางเลือกและโอกาสให้กับผู้เรียน และสามารถช่วยแก้ปัญหาการออกกลางคัน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันยังพบว่ามีปัญหา&nbsp;&nbsp; ที่จะต้องเร่งแก้ไข คือ ปัญหาเรื่องทรัพยากรบุคคล เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพ ความสามารถเฉพาะทาง และข้อจำกัดของนักเรียนด้านผู้ปกครอง เกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและปัญหาการอพยพถิ่นที่อยู่อาศัย และทัศนคติต่อการเรียนสายอาชีพในสถานศึกษา&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน</p> ER -