https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/issue/feed คุรุสภาวิทยาจารย์ 2024-12-20T12:56:04+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม withayajarn@gmail.com Open Journal Systems <p> <strong>คุรุสภาวิทยาจารย์</strong></p> <p> วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนัก และให้ความสำคัญ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และวิชาชีพทางการศึกษา</p> <p><strong>รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer reviews) </strong></p> <p><strong> (Double-blind peer review) <br /></strong> - ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) <br /> - ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer)</p> <p><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณา <br /></strong> 2 ท่าน<br /><strong>การจัดทำวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์<br /></strong> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน (เผยแพร่สิ้นเดือนเมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนสิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนธันวาคม)</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์ฉบับละ 10 บทความ<br /></strong> บทความวิชาการ 1 - 2 บทความ<br /> บทความวิจัย 7 - 8 บทความ </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร<br /> * ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร*</strong></p> <p><strong>รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร<br /> * รูปแบบ APA 7 *</strong></p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/252996 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่น เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2024-08-30T14:06:56+07:00 ศุภาพิชญ์ อุดรสรรพ์ suphaphit.ud65@snru.ac.th <p style="font-weight: 400;"> <span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชัน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รููปแบบการจัด การเรียนรู้ด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่น 2) แผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน 6 แผน 3) แบบวัด ทักษะการแก้ปัญหา จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง (Item - objective Congruence : IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สููตรสัมประสิทธิ์ของครอนบาค (Alpha’s Cronbach) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (</span><span class="fontstyle2">S.D</span><span class="fontstyle0">) และการทดสอบ โดยใช้สถิติ t - test Dependent Samples</span></p> <p> </p> <p style="font-weight: 400;"><span class="fontstyle0">ผลการวิจัยพบว่า 1) รููปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรููปแบบ 2) วัตถุประสงค์3) เนื้อหา 4) กระบวนการสอน และ 5) การวัดประเมินผล ซึ่งคุณภาพด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.92 และเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.109 และ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01</span> <br /><br /></p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/253365 การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2024-11-06T16:15:00+07:00 กัญญาภรณ์ นางงาม nngtnp@gmail.com อุเทน ปุ่มสันเทียะ Uthen.p@psru.ac.th ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ Punnawit.b@psru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. แบบอัตนัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนเกิดมโนทัศน์และข้อผิดพลาด ดังนี้ 1) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท กฎ สูตร และข้อเท็จจริง ร้อยละ 43.67 2) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความหมายของคำที่ใช้ในคณิตศาสตร์ ร้อยละ 8 3) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการและการคำนวณผิดพลาด ร้อยละ 6.67 4) ข้อผิดพลาด ร้อยละ 5.33 และ 5) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ร้อยละ 1.67 ตามลำดับ</p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/253452 การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการเรียนออนไลน์ ด้วยระบบเปิดสําหรับมหาชน (Mahidol MOOC) ของมหาวิทยาลัยมหิดล 2024-11-06T16:16:30+07:00 ชนาภรณ์ ปัญญาการผล chanaphorn.pan@gmail.com ขจรศักดิ์ กั้นใช้ khajonsak.khan@gmail.com <p><span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อภิปรายสภาพการจัดการเรียนออนไลน์ 2) ศึกษาปัญหาการจัด การเรียนออนไลน์ และ 3) ศึกษาความต้องการการจัดการเรียนออนไลน์ โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์ จำนวน 18 ท่าน และผู้เรียนที่ใช้ระบบเปิดสำหรับมหาชน จำนวน 2,045 คน เป็นอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาจำนวน 15 คน คัดเลือกโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และผู้เรียนจำนวน 500 คน คัดเลือกโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ บังเอิญ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชุุด คือ แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์ ด้วยระบบเปิดสำหรับมหาชน และแบบสำหรับผู้เรียนออนไลน์ด้วยระบบเปิดสำหรับมหาชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</span></p> <p><span class="fontstyle0">โดยมีผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของอาจารย์ฯ พบว่า การออกแบบข้อสอบสามารถทำรููปแบบได้จำกัด ควรเพิ่มเครื่องมือที่ทำให้ออกแบบข้อสอบได้หลากหลายมากขึ้นจึงควรมีการออกแบบเมนููอัพโหลดรููปภาพ อย่างง่าย และควรมีการเพิ่มเติมและแก้ไขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้รายวิชาออนไลน์มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน 2) ความต้องการของอาจารย์ฯ พบว่า ผลการศึกษาความต้องการความสามารถ ในด้านการเข้าใช้งานเพื่อพัฒนารายวิชาออนไลน์มีระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาของผู้เรียนฯ พบว่า มี 4 ด้านคือ ด้านเนื้อหา ด้านแบบทดสอบ ด้านการใช้งานระบบ MUx และด้านอื่น ๆ และ 4) ความต้องการ ของผู้เรียนฯ พบว่า ผู้เรียนต้องการให้เพิ่มรายวิชาให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น</span><em><br /></em></p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/253558 ผลการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2024-11-18T09:18:12+07:00 ธารารัตน์ ดวงจันทร์ nangiambaby@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณร่วมกับ<br />การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ หลังเรียน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ หลังเรียน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อน กับ หลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน<br />ชั้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 42 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/253887 ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรียะลา 2024-11-18T09:39:28+07:00 ฟาซีฮะห์ เจ๊ะฮะ faseehah29@gmail.com ฟารีซาน แวสาและ fareesann08@gmail.com โซเฟีย มะลี prissana.p@psu.ac.th <p> <span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ โดยใช้ การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนสตรียะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ซึ่่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ 3) แบบทดสอบการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (</span><span class="fontstyle2">𝑥̅̅</span><span class="fontstyle3">) </span><span class="fontstyle0">ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดลองทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน</span></p> <p> </p> <p><span class="fontstyle0">ผลการวิิจััยพบว่่า 1) ผลการหาประสิิทธิิภาพของแบบฝึึกทัักษะการเขีียนเรีียงความ โดยใช้้ การจััดเรีียนรู้้แบบร่่วมมืือเทคนิิค CIRC ตามเกณฑ์์ 80/80 เท่่ากัับ 82.34/ 84.05 ซึ่่�งสููงกว่่าเกณฑ์์ที่่�กำหนดไว้้ 80/80 2) ทัักษะการเขีียนเรีียงความของนัักเรีียน โดยใช้้การจััดการเรีียนรู้้แบบร่่วมมืือเทคนิิค CIRC ร่่วมกัับ แบบฝึึกทัักษะ หลัังเรีียนสููงกว่่าก่่อนเรีียนอย่่างมีีนััยสำคััญทางสถิิติิที่่�ระดัับ .05</span> <br /><br /></p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/254080 การพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาการบวกโดยใช้ระบบการวิเคราะห์งานของเด็กที่มีภาวะออทิซึม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาวิละอนุกูล 2024-11-18T09:54:52+07:00 อาทิตยกุล ไชยวรรณ arthittayakun12@gmail.com วารุณี โพธาสินธุ์ Va_runee@hotmail.com <p> <span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการสอนเฉพาะบุคคล เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกด้วยใช้ระบบการวิเคราะห์งานของเด็กที่มีภาวะออทิซึมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาวิละอนุกูล และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การแก้โจทย์ปัญหาการบวกโดยใช้ระบบการวิเคราะห์งาน ของเด็กที่มีภาวะ ออทิซึมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาวิละอนุกูล รููปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนกาวิละอนุกูล กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่มีภาวะออทิซึม จำนวน 1 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม และ 2) เครื่่องมือรวบรวมข้อมููล</span></p> <p><span class="fontstyle0">ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการสอนทั้ง 4 ชุุด มีผลการประเมินลิเคอร์ท (Likert) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 2 ) เด็กที่มีภาวะออทิซึมมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ระดับดี มากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์หรือนำไปใช้ในการนำระบบวิเคราะห์งานไปเป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและเรื่องอื่น ๆ ได้</span><br /><br /></p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/254263 การพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน 2024-11-18T10:06:13+07:00 รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์ rattana.t@cit.kmutnb.ac.th <p><span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยผ่านโครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน 2) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านโครงงานแผน ธุรกิจเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาในรายวิิชา การเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 92 คน ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม – 22 ตุุลาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบที</span></p> <p><span class="fontstyle0">ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ความเชื่อมั่นในตนเอง สุขภาพ เครือข่ายความสัมพันธ์ จริยธรรมผู้ประกอบการ การเงินและการลงทุุน และการบริหารความเสี่ยง ล้วนเป็นคุณสมบัติสำคัญ สำหรับผลสัมฤทธิ์การจัด การเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนโดยกระบวนการเรียนรู้โครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาผ่านโครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน มีผลทำให้นักศึกษาระดับ</span><span class="fontstyle0">ปริญญาตรีมีความรู้เพิ่มขึ้น</span> </p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/255732 MEDIATING EFFECT OF JOB SATISFACTION AND ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR ON RELATIONSHIP BETWEEN TEACHER ORGANIZATIONAL IDENTIFICATION AND WORK PERFORMANCE IN ARTS UNIVERSITIES AND COLLEGES OF SHANDONG PROVINCE 2024-11-18T10:21:57+07:00 Sukhum Moonmuang sukhummulmeuxng@gmail.com Sataporn Pruettikul pruettikul@hotmail.com Yin ke yht2008good@126.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The objectives of&nbsp; research were: (1) to explore the components of organizational identification, job satisfaction, organizational citizenship behavior, and work performance of teachers in art universities in Shandong Province; (2) to develop a model of the mediating effects of job satisfaction and organizational citizenship behavior on the relationship between organizational identification and work performance; and (3) to analyze the direct and indirect effects of organizational identification, job satisfaction, and organizational citizenship behavior on the teachers' work performance. The population was 2,308 teachers from 6 arts universities in Shandong Province. The sample was 370 teachers, determined by G*Power software, and a proportional stratified random sampling method. Data were collected using a five-point scale questionnaire and analyzed using CFA and SEM.</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results showed that (1) the components of organizational identification consisted of member identification, loyalty, and similarity. Job satisfaction consists of leadership and management, compensation and benefits, intrinsic Job characteristics, working environment, and interpersonal relationships. Organizational citizenship behavior consists of In-role behavior, interpersonal altruistic behavior, and organizational citizenship behavior, and Work performance consists of teaching performance and scientific research performance. (2) The model fits well with the empirical data (chi-square = 61.830, df = 59, chi-square/df = 1.048, TLI = 0.999, GFI = 0.975, AGFI = 0.961, CFI = 0.999, RMSEA = 0.011), and (3) Organizational identification, job satisfaction, and organizational citizenship behavior had a significant positive direct effect on teachers work performance. Additionally, organizational identification indirectly affects work performance through job satisfaction and organizational citizenship behavior, there were mediating effects.</p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/256737 ACT: การส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีความสุขและความยั่งยืนในการศึกษาของสภาครูอาเซียน 2024-11-18T08:45:30+07:00 ราณี จีนสุทธิ์ jeansutiranee@gmail.com จักรพรรดิ วะทา jakraphat1947@gmail.com รจนา วงศ์ข้าหลวง rcnawngskhahlwng@gmail.com ณิชา มั่นนุช munnush_n@ksp.or.th <p>บทความนี้นำเสนอข้อมูลการประชุมสภาครูอาเซียนครั้งที่ 38 The 38<sup>th</sup> ASEAN Council of Teachers + Korea (ACT+1) Convention ภายใต้หัวข้อ “Promoting Happy Schooling and Sustainability in Education: การส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีความสุขและความยั่งยืนในการศึกษา” และนำเสนอแนวทางที่สำคัญและจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีความสุขและความยั่งยืนในการศึกษาของสภาครูอาเซียน 10 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา 3) การพัฒนาครู 4) เครือข่ายความร่วมมือ 5) การเรียนรู้ตลอดชีวิต 6) ทักษะในศตวรรษที่ 21 7) การเรียนรู้นอกห้องเรียน 8) การเรียนรู้แบบยืดหยุ่น 9) การสนับสนุนบริบทท้องถิ่น และ 10) การยกย่องเชิดชูเกียรติคุณครูเพื่อให้โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา พิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงนโยบายการส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีความสุขและความยั่งยืนในการศึกษาของสภาครูอาเซียนต่อไป</p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/255407 การประเมินรูปแบบการบริหารงานโดยใช้วิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ในงานวิจัยด้านการบริหารการศึกษา 2024-11-06T16:00:44+07:00 ปัญญา ธีระวิทยเลิศ panya_research@hotmail.com ศุภมาส ชุมแก้ว supamas.tun@gmail.com <p> <span class="fontstyle0">การวิจัยด้านบริหารการศึกษาในระดับเบื้องต้นมักใช้วิธีการสำรวจ เพื่อตอบโจทย์สภาพการบริหารงาน ขององค์กรแต่สำหรับโจทย์วิจัยที่ต้องการพัฒนารููปแบบการบริหารรููปแบบใหม่ ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนา องค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารองค์กร มักจะใช้รูปแบบการวิจัยที่เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&amp;D) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นการสำรวจ ขั้นการพัฒนา ขั้นการประเมิน และขั้นการปรับปรุง ในขั้นตอนที่ 3 คือ ขั้นตอนการประเมินนั้น มีการประเมินใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการประเมินเชิงเหตุุผล (Rational Evaluation) จะประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และลักษณะ ที่สองเป็นการประเมินเชิงประจักษ์ (Empirical Evaluation) จะประเมินโดยใช้การทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง สำหรับการประเมินโดยการทดลองนั้น เป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือมากแต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดมากเช่นกัน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนสภาพการทำงานจริงได้ และในสภาพการทำงานจริงมีข้อจำกัดที่ควบคุุม ความคลาดเคลื่อนได้ยาก ผู้วิจัยจึงมักเลือกใช้การประเมินรููปแบบการบริหารงานโดยใช้้วิธีการสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ซึ่งวิธีนี้ผู้วิจัยต้องวางแผนการบริหารจัดการการประชุมให้ดี เพื่อให้มีคลาดเคลื่อนน้อยที่สุุดเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือ</span></p> <p><span class="fontstyle0">ความเที่ยงตรงของการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญที่เป็นความเที่ยงตรงภายในนั้น เช่น การกำหนดประเด็น การพิจารณาให้ครอบคลุุมหัวข้อที่ต้องการ และพิจารณาคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถให้ตรงกับ เรื่องที่พิจารณา การประชุมกลุ่มต้องให้ผู้ร่วมสัมมนาทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกันและ แสดงความคิดเห็น โดยปราศจากอคติส่วนตัวหรือมีการครอบงำความคิดจากบุคคลอื่น และผลการสัมมนาสามารถนำไปใช้ได้กับสาธารณชนทั่วไปหรือนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์อื่น ๆ</span> <br /><br /></p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คุรุสภาวิทยาจารย์