คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal <p> วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และด้านศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ การเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนักให้ความสำคัญกับนักเรียน ครู และการศึกษา เพื่อให้ครูปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ การพัฒนาและยกระดับจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อศิษย์ และการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งวิชาชีพการศึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูเป็นครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู และมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการเข้าสู่วิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาทุกมิติตามศักยภาพและความถนัด ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเพื่อให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นิสิต นักศึกษา และนักวิจัย</p> <p><strong>รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer reviews) </strong></p> <p><strong> (Double-blind peer review) <br /></strong> - ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) <br /> - ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer)</p> <p><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณา <br /></strong> 2 ท่าน<br /><strong>การจัดทำวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์<br /></strong> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน (เผยแพร่สิ้นเดือนเมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนสิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนธันวาคม)</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์ฉบับละ 10 บทความ<br /></strong> บทความวิชาการ 1 - 2 บทความ<br /> บทความวิจัย 7 - 8 บทความ </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร<br /> * ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร*</strong></p> <p><strong>รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร<br /> * รูปแบบ APA 7 *</strong></p> สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ th-TH คุรุสภาวิทยาจารย์ 1513-1912 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น</p> ผู้บริหารการศึกษาอันชาญฉลาด: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/252165 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้เป็นการอธิบายผู้บริหารการศึกษาอันชาญฉลาด กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต การบริหารการศึกษาในความท้าทายความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งนวัตกรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ผู้บริหารการศึกษาต้องมีความฉลาดในการเรียนรู้และบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพ ส่งมอบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุดให้กับผู้เรียน ผู้บริหารต้องมีความฉลาดในการค้นหานวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ตลอดเวลาและกระตุ้นให้บุคลากรแสวงหาวิธีการคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในคุณภาพการศึกษาโดยการนำและการบริหารการศึกษา อันชาญฉลาดของอธิการบดี บทความนี้ใช้ทักษะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพด้านการบูรณาการความคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านเทคนิค เป็นแนวคิดในวิเคราะห์สังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำของอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมกับนำเสนอการนำไปใช้เชิงประจักษ์ที่เป็นรูปธรรม และข้อค้นพบของการบริหารการศึกษาอันชาญฉลาดที่สำคัญว่า มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีวิธีคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ในการสร้างงานจากความเชี่ยวชาญและภูมิปัญญาของตนเอง พัฒนาเป็นนวัตกรรม นำไปสู่<br>การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ จากนั้นจึงเผยแพร่สู่ชุมชน</p> ศิโรจน์ ผลพันธิน สุขุม เฉลยทรัพย์ สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 19 35 Work based skill by MOOCs: วิถีการเรียนรู้ใหม่ของคนยุคดิจิทัล https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/251907 <p> ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และอยู่ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตและการทำงาน บทความนี้ฉายภาพความท้าทายด้านการศึกษาในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การพัฒนาตนเองให้มีความพร้อม ทั้งในด้านวิชาการและความพร้อมด้านสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยขอยกตัวอย่าง Thai MOOC ในฐานะแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform: NDLP) เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของไทย ที่จะเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตนเอง (Upskill &amp; Reskill) อย่างต่อเนื่องด้วยการออกแบบชุดรายวิชาที่เน้นทักษะการทำงาน (Work Based skill MOOCs) ที่สามารถใช้เป็นแบบจำลองพื้นฐานสำหรับอีกหลายๆ หลักสูตร ชุดรายวิชา (Micro credential) ที่สอดคล้องกับวิถีการเรียนรู้ใหม่ของคนยุคดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยบทความจะกล่าวถึง 1) การฉายภาพวิถีการเรียนรู้ใหม่ของคนยุคดิจิทัล 2) กรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ (Best practice) และแนวทางการออกแบบชุดรายวิชาที่เน้นส่งเสริมทักษะการทำงาน และ 3) การฉายภาพอนาคตการต่อยอดสู่ชุดรายวิชาแบบ Micro credential และการสะสมหน่วยกิต</p> ฐาปนีย์ ธรรมเมธา อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี จินตวีร์ คล้ายสังข์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 36 49 การพัฒนาการสื่อสารโดยใช้รูปภาพของเด็กที่มีภาวะออทิซึม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาวิละอนุกูล https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250653 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกการสื่อสารโดยใช้รูปภาพของเด็กที่มีภาวะออทิซึม และเพื่อพัฒนาพัฒนาการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาวิละอนุกูล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กที่มีภาวะออทิซึมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาวิละอนุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการสอนเฉพาะบุคคล Individual Implementation Plan : IIP จำนวน 10 แผน (2) ชุดฝึกการสื่อสารโดยใช้รูปภาพของเด็กที่มีภาวะออทิซึม จำนวน 4 ชุด (3) แบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีภาวะออทิซึมในการสื่อสารโดยใช้รูปภาพ (4) แบบประเมินความสามารถด้านการสื่อสารโดยใช้รูปภาพของเด็กที่มีภาวะออทิซึม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย<br /><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> <br /> 1. ชุดฝึกการสื่อสารโดยใช้รูปภาพของเด็กที่มีภาวะออทิซึม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 <br />โรงเรียนกาวิละอนุกูล สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br /> 2. พัฒนาการทางการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากการฝึกการสื่อสารโดยใช้รูปภาพแล้วพบว่า สูงกว่าระยะก่อนทดลอง</p> ศรัณย์ กันธิยะ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 51 63 การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250319 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่องความคล้าย ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ฯ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ฯ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ห้องเรียนปกติ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.97 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> นภดล ฝั้นจุมปู Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 64 77 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลางที่เรียนเรื่องโยนิโสมนสิการ โดยใช้เทคนิควิธีการคิดแบบวิภัชชวาท https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247190 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการคิดแบบวิภัชชวาท โดยใช้ระเบียบวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ 1.หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โยนิโสมนสิการ 2.แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3.แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ คือ สูตรคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์</p> <p>ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>เปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมในครั้งที่ 1 และ 2 พบว่ามีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นทุกคน คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 6.50 เป็น 8.94 ผลการประเมินพฤติกรรมในครั้งที่ 2 และ 3 มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 23 คน โดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 67.65 <br />ไม่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 32.35 คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 8.94 เป็น 9.68</li> <li>เปรียบเทียบผลการทดสอบในครั้งที่ 1 และ 2 พบว่ามีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น<br />ทุกคน คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 1.47 เป็น 3.53 ผลการทดสอบในครั้งที่ 2 และ 3 มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 25 คน โดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 73.53 ไม่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 26.47 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 3.53 เป็น 4.65</li> </ol> วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 78 92 การพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT ร่วมกับหนังสือนิทานพื้นบ้านชุด “สืบสานนิทานใต้” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/251713 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ พัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับหนังสือนิทานพื้นบ้านชุด“สืบสานนิทานใต้” เปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 4MAT ร่วมกับหนังสือนิทานพื้นบ้านชุด “สืบสานนิทานใต้” แบบประเมินทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หนังสือนิทานพื้นบ้านชุด“สืบสานนิทานใต้” และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/ E<sub>2</sub>) และเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 4MAT ร่วมกับหนังสือนิทานพื้นบ้านชุด “สืบสานนิทานใต้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.93/80.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการประเมินทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.84 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37</p> กรกนก โพธิ์แก้ว พัชลินจ์ จีนนุ่น อมลวรรณ วีระธรรมโม Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 93 107 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250856 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 20 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และการพัฒนาบุคลากรและการปรับตัววิถีใหม่ จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 687 คน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบหลักภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 9 ด้าน (2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์สามารถทำได้ 5 วิธี ได้แก่ การเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง การปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง การใช้กรณีศึกษา การสอนงานโดยใช้กิจกรรมเชิงรุก และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่วนกิจกรรมการพัฒนา ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาจากตัวแบบ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาสมัยใหม่ เป็นต้น (3) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมโดยใช้กระบวนการ PIER ได้แก่ &nbsp;การวางแผน การนำไปปฏิบัติ การประเมินผล และการสะท้อนผล ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีภาวะผู้นำที่ปรับตัวเชิงกลยุทธ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย</p> พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 108 124 การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน ที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250704 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียนให้สามารถพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการชุมชนแห่ทางวิชาชีพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการชุมชนแห่งทางวิชาชีพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย<br />ในการศึกษา คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง เป็นกลุ่มทดลอง 1 แห่ง และกลุ่มควบคุม 1 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน พบว่า ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและ<br />การเขียนดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกระดับชั้น พัฒนาสื่อ<br />การเรียนรู้ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจบทเรียนได้ดี และเน้นการประเมินตามสถาพจริงมากขึ้น <br />และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน พบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน <br />(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 วิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ และผู้เรียนโรงเรียน<br />กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยสูงกว่า โรงเรียนกลุ่มควบคุม</p> ทยาตา รัตนภิญโญวานิช Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 125 140 การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในประเทศไทย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250918 <p> วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสร้าง ทดสอบ ทดลองใช้ ประเมิน และเสนอแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ 2) ขั้นการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม 3) ขั้นการทดสอบการใช้งานและประเมินผล และ 4) ขั้นการปรับปรุงสมรรถนะของแพลตฟอร์ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแสดงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการทดลองใช้แพลตฟอร์มมีผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากและผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอยู่ในระดับมากเช่นกันโดยเห็นว่าเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และมีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก 2) แพลตฟอร์มนี้มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยเว็บไซต์ ฐานข้อมูลครูผู้สอน และนักเรียน บันทึกความรู้ แบบประเมินความรู้ กระดานสนทนา คลังความรู้ และภาพกิจกรรมต่าง ๆ โดยกระบวนการสนับสนุนการจัดการความรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้เป็นอย่างดี</p> อาคีรา ราชเวียง พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 141 156 ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี พ.ศ. 2566 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/252241 จักรพรรดิ วะทา เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ 2023-12-30 2023-12-30 4 3 1 17