คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal <p> วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และด้านศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ การเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนักให้ความสำคัญกับนักเรียน ครู และการศึกษา เพื่อให้ครูปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ การพัฒนาและยกระดับจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อศิษย์ และการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งวิชาชีพการศึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูเป็นครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู และมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการเข้าสู่วิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาทุกมิติตามศักยภาพและความถนัด ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเพื่อให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นิสิต นักศึกษา และนักวิจัย</p> <p><strong>รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer reviews) </strong></p> <p><strong> (Double-blind peer review) <br /></strong> - ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) <br /> - ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer)<br /><br /><strong>การจัดทำวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์<br /></strong> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน (เผยแพร่สิ้นเดือนเมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนสิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม (เผยแพร่สิ้นเดือนธันวาคม)</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์ฉบับละ 10 บทความ<br /></strong> บทความวิชาการ 1 - 2 บทความ<br /> บทความวิจัย 8 - 9 บทความ </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร<br /> * ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการลงบทความในวารสาร*</strong></p> <p><strong>รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร<br /> * รูปแบบ APA 7 *</strong></p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น</p> withayajarn@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม) chunyuth@ksp.or.th (นายจันทร์ยงยุทธ บุญทอง) Thu, 31 Aug 2023 18:02:46 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง และความสุขในการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247267 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ 2) ศึกษาความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ และ 3) ขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง และความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 30 คน และกลุ่มขยายผลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง รายวิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 3) แบบประเมินความสุขในการเรียนรู้ และ 4) แบบบันทึกสะท้อนความสุขในการเรียนรู้ โดยนักเรียนเป็นผู้บันทึกและประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และการเขียนอนุทิน (Journal Writing) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสุขในการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็น ผู้ประเมินตนเองหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากและ 3) ผลการขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ พบว่า ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความสุขในการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมินตนเองหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก</p> ธนินท์รัฐ กฤษฎิ์ฉันทัชท์ ธัญวริณณ์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247267 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้ากับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/249291 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้ากับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 191 คน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม และด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้าอย่างถูกต้อง โดยภาพรวมร้อยละ 70.93 และ 3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความสัมพันธ์ผกผันระดับต่ำ กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ฟาจิรา พิช์ญสินี Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/249291 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247281 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2, 3 และ 4 จำนวน 131 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นชั้น เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง 3) แบบทดสอบการอ่านออกเสียงระบบสัทอักษรภาษาจีนกลางและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย(x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สูตรการหาประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และการทดสอบค่าคะแนนทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลของการวิจัยปรากฏว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลางสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.24/85.60 2) ผลการเรียนรู้เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรู้เรื่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ทุกรายการประเมิน</p> กฤษณ์ ลักษมีพงศากุล Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247281 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ” เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247269 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 คน เป็นเวลา 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตร หลักการ จุดหมายของรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องราวหอยขาวในท้องถิ่นท่าชนะ รู้จักบริบทท้องถิ่นท่าชนะ ทำให้นักเรียนมองเห็นความสำคัญ วิถีชีวิตของหอยขาว และบ่มเพาะการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากหอยขาวให้ยั่งยืน และ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จินตนา ยังจีน Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247269 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247193 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 27 คน เป็นการคัดเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.04/85.30 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ในระดับมาก</p> <p> </p> นายอดิศร ขาวสะอาด Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247193 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้เกมิฟิเคชัน หน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/249371 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมิฟิเคชัน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมิฟิเคชัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>S.D</em>.) และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับพฤติกรรมของทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การระบุปัญหา รองลงมา คือ การค้นพบวิธีการแก้ปัญหา การค้นพบปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา และการค้นหาวิธีแก้ปัญหา ตามลำดับ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ภูษณิศา สุวรรณศิลป์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/249371 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง ต่อความสามารถในการเดินด้วยตนเอง ของนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247239 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง ต่อความสามารถในการเดินด้วยตนเองของนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กสมองพิการ มีปัญหาด้านการทรงตัวเข้ารับบริการ ห้องเตรียมความพร้อมกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan: IIP) และ 3) การทดสอบการเดินในเวลา 1 นาที (1 minute walk test, 1MWT ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยระยะทางที่นักเรียนเดินด้วยตนเองก่อนใช้โปรแกรมเท่ากับ 3.5 เมตร<br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 หลังใช้โปรแกรมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยระยะทางที่นักเรียน เดินด้วยตนเองหลังใช้โปรแกรมเท่ากับ 8.5 เมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต่างก่อนและหลังใช้โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลังมีค่าความต่างเท่ากับ 5 เมตร สรุปผลการวิจัยได้ว่าโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลังเมื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่งผลให้นักเรียนมีการทรงตัวในขณะเดินมั่นคงขึ้น การลงน้ำหนักของฝ่าเท้าขณะเดินดีขึ้นเดินด้วยตนเองได้ระยะทางที่มากขึ้น</p> <p><strong> </strong></p> อรจิรา มณีรัตนสุบรรณ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247239 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247810 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย<br />แบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 สถาบัน ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 อธิการบดีและรองอธิการบดี จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มที่ 2 คณาจารย์และบุคลากร จำนวน 430 คน รวมทั้งสิ้น 462 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาและสภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบหลัก คือ (1) ความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (2) กลยุทธ์การสื่อสาร (3) การหลอมรวมระบบบริหารที่เชื่อมโยง (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา และ (5) บรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การเรียนรู้ด้วยตนเองเชิงดิจิทัล (2) การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ และ (3) การฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ 3) เป้าหมายการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การสร้างแรงบันดาลใจ (2) การสร้างความมั่นใจ (3) การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (4) การจัดสรรเวลาในการเข้าถึง (5) การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และ (6) การสร้างความเสมือนจริง 4) คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การเข้าใจถึงความหลากหลาย (2) ความสามารถในการโน้มน้าว (3) การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (4) ทักษะการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (5) กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (6) ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ และ (7) การเรียนรู้ได้อย่างคล่องตัว</p> พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247810 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250728 <p>การศึกษามีเป้าหมายที่ซับซ้อน ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ถือว่าเป็นยุคที่มีลักษณะ VUCA (V = volatile - เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรง, U = Uncertain - ไม่แน่นอน, C = Complex - ซับซ้อน มีหลายมิติ, A = Ambiguous - กำกวม ตีความได้หลายแง่หลายมุม) (US Army War College, 1987) การศึกษายิ่งต้องมีเป้าหมายที่ซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากสภาพ VUCA แล้ว ยังมีผู้เสนอลักษณะของสังคมในปัจจุบันว่า BANI (B = Brittle - เปราะบาง แตกหักชำรุดง่าย, A = Anxious - น่าวิตกกังวล, N = Non-Linear - ไม่เป็นเส้นตรง มีปัจจัยเกี่ยวข้องซับซ้อน, I = Incomprehensible – เข้าใจยาก) (Casio Jamais, 2020) และยังมีผู้เสนอว่าสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วย Wicked Problems ซึ่งหมายถึงปัญหาที่ซับซ้อนเอาแน่เอานอนไม่ได้ (Wikipedia, n.d)</p> วิจารณ์ พานิช Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250728 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาเยาวชนไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และการประเมินทักษะการปฏิบัติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/248700 <p style="font-weight: 400;">บทความนี้นำเสนอวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน ความสำคัญของการประเมินทักษะแนวทางการประเมินทักษะโดยใช้รูบริค <em>(เกณฑ์การให้คะแนน)</em> และแนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะ โดยใช้รูบริค เพื่อให้เกิดการประเมินทักษะที่สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นผลมาจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยมีรูปแบบการพัฒนาจากการใช้ชุดนวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit: SIT KIT) โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เพื่อพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสืบสอบ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา การฟื้นคืนสภาพ และความสำคัญของการประเมินทักษะโดยใช้เกณฑ์การประเมินรูบริค และแนวทางการประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินรูบริค และขั้นตอนการ<u>พัฒนา</u>เกณฑ์การประเมิน<u>รูบริค</u>เพื่อให้สามารถวัดและประเมินทักษะของผู้เรียน</p> นงลักษณ์ มโนวลัยเลา , รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ Copyright (c) 2023 คุรุสภาวิทยาจารย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/248700 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700