การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

Main Article Content

สลิลทิพย์ สินธุสนธิชาติ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการออกแบบ จำลอง และจัดสร้างมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ โดยมุ่งเน้นศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชนิดที่เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสชนิดคาร์ปาซิเตอร์ต่อร่วมถาวรให้มีค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยใช้โครงสเตเตอร์ และแกนโรเตอร์ของมอเตอร์ตามโครงสร้างเดิมของบริษัทผู้ผลิต การออกแบบมอเตอร์ใช้วิธีการลดค่าความสูญเสียในขดลวดสเตเตอร์ และความสูญเสียในแกนเหล็กสเตเตอร์โดยออกแบบมอเตอร์ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันหลายรูปแบบ และนำข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ไปจำลองคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่าง ๆ ของมอเตอร์โดยใช้โปรแกรม CAMS หลังจากนั้นทำการจัดสร้าง และทดสอบคุณสมบัติ และสมรรถนะการทำงานของมอเตอร์ รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมอเตอร์แบบดั้งเดิมของบริษัทผู้ผลิต เพื่อยืนยัน และแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ได้อย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cyril George Veinott, Joseph E. Martin, “Fractional and subfractional horsepower electric motors: available types, basic operating principles, selection, and maintenance”, McGraw-Hill, Feb 1, 1986.

Deshpande, M.V. “Design and Testing of Electrical Machines”, (1nd ed.). (U.S.A.): Wheeler Publishing, หน้า 53-55, 1983.

สลิลทิพย์ สินธุสนธิชาติ, “การออกแบบและจำลองการทำงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพมอเตอร์คอมเพรสเซอร์” การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 42 เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา บทความ PW04, vol.1 หน้า 33-36 พ.ศ. 2562

คาร์ล วิลกินสัน, “เทคนิคการพันมอเตอร์ขนาดเล็ก”. แปลโดย เสนอ นิลรัตน์นิศาก, ประสิทธิ์ ตันติบุตร, พิชิต สุขเจริญพงษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เอช-เอน ซิเอ็ดยูเคชั่น, หน้า 12-22, 2526

“การออกแบบและจัดสร้างมอเตอร์คอมเพรสเซอร์” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2558

ASHRAE Application Handbook, American Society of Heating, Refrigerating and Air-conditioning Engineers, 1999.