การวิเคราะห์หาค่าปรับแก้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 & B2 โดยใช้ข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝน

Main Article Content

รัชเวช หาญชูวงศ์
วลัยรัตน์ บุญไทย
ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น

บทคัดย่อ

เนื่องจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในอนาคตจากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 มีข้อจำกัดที่มักเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของแบบจำลองหลายประการ ดังนั้นการนำข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 ไปใช้จำเป็นที่จะต้องปรับลดค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลดังกล่าวก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 & B2 เทียบกับปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝนของกรมชลประทาน ที่ผ่านการตวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจำนวน 265 สถานี ณ ตำแหน่งเดียวกัน ที่กระจายตัวครอบคลุมทั่วพื้นที่ศึกษาในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีษะเกษ นครราชสีมา หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สุรินทร์ ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และ เลย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523-2555 ผลการคัดเลือกวิธีการปรับแก้ที่เหมาะสมพิจารณาจากค่าเปอร์เซนต์ความถูกต้อง ระหว่างค่า Root Mean Square Error (RMSE) ของปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝนและปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 ภายหลังปรับแก้ด้วยค่าปรับแก้เฉลี่ยรายปี, รายเดือน และรายวัน ที่น้อยลงเมื่อเทียบกับค่า RMSE ของปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝนและปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 ที่ไม่ปรับแก้ ณ ตำแหน่งสถานีวัดน้ำฝนเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเป็นค่าการปรับแก้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ปรับแก้ปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 โดยมีค่าความถูกต้องเพิ่มขึ้น 1.05% ส่วนค่าปรับแก้เฉลี่ยรายปีค่าความถูกต้องเพิ่มขึ้น 0.02% และ ค่าปรับแก้เฉลี่ยรายวัน มีความถูกต้องลดลง 21.10% ตามลำดับ สำหรับแบบจำลอง PRECIS Scenario B2 ค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเป็นค่าการปรับแก้ที่เหมาะสมที่สุดเช่นเดียวกัน โดยมีค่าความถูกต้องเพิ่มขึ้น 1.08% ส่วนค่าปรับแก้เฉลี่ยรายปี และ ค่าปรับแก้เฉลี่ยรายวัน มีความถูกต้องลดลง 0.17%, 18.36% ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

C.A. Wilson and J.F.B. Mitchell, “A doubling of CO2 Climate Sensitivity Experiment with a Global Climate Model Including a Simple Ocean” Journal of Geophysical Researches, 1987, pp 92: 315-343.

J. Hansen, I. Fung, A. Lacis, D. Rind, S. Lebedeff, R. Ruedy, G. Russel, P. Stone, “Global Climate Changes as Forecast by Goddard Institute for Space Studies Three- dimentional model” Journal of Geophysical Researches, 1988, pp. 93: 9341 -9364.

K. Boonpragob, “Climate change in Thailand simulated by General Circulation Models.” In Boonprogob K. (ed.) Thailand’s country study on climate change 1990, 1999, pp. 10-1 to 10-29.

J.F.B. Mitchell, C.A. Senior, W.J. Ingram, “CO2 and Climate: A missing Feedback”, Nature, 1989, pp. 341: 132-134.

S. Manabe, K. Bryan, M.D. Spelman, “Transient response of a global ocean-atmosphere model to a doubling of atmospheric carbon dioxide” Journal of Physical Oceanography, 1990, pp. 20: 722-749.

กัณฑรีย์ บุญประกอบ, จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์, จารุทัศน์ สันติสิริสมบูรณ์, วรัญญู วงษ์เสรี, พัชมณ แก้วแพรก, กัมพล พรหมจิระประวัติ, สิริวรินทร์ เพชรรัตน์, ยอด สุขะมงคล, ปวันรัตน์ อักษรสิงห์ชัย และ ขวัญฤทัย ศรีแสงฉาย, “ภาพฉายอนาคตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย จากผลของการย่อส่วนแบบจำลองภูมิอากาศโลก - GFDL-R30” 2553, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

เจียมใจ เครือสุวรรณ, ชาคริต โชติอมรศักดิ์, อรวรรณ วิรัลห์เวชยันต์, ภาคภูมิ รัตน์จิรานุกุล, ธีรชัย อำนวยล้อ-เจริญ และ ปิยะ ผ่านศึก, “ภาพฉายอนาคตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยจากผลของแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค - MM5”, 2553, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

ศุภกร ชินวรรโณ, “การคาดการณ์สภาพอากาศอนาคตสำหรับประเทศไทย: ผลการจำลองสภาพภูมิอากาศโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์”, การประชุมสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติครั้งที่ 4, 2551, เชียงใหม่, 27 - 28 พฤษภาคม 2551.

กรมอุตุนิยมวิทยา, “การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต”, 2552, ศูนย์ภูมิอากาศสำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.

ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, “การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศอนาคตสาหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยแบบจาลองสภาพภูมิอากาศ PRECIS และ ECHAM4”,2552, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุจริต คูณธนกุลวงศ์, วิรัช ฉัตรดรงค์, วินัย เชาวน์วิวัฒน์, โชคชัย สุทธิธรรมจิต, วิชญาณ เจริญกุล และ วิชุตา เหมเสถียร, “ผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อปริมาณน้ำฝน/น้ำท่ารายเดือนของประเทศไทยและผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก”,2553, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

สิรินธรเทพ เต้าประยูร, เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์, เมกา ออกทาเวียอานี และ กฤตนัย ต่อศรี, “การศึกษาและพัฒนาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาค RegCM3 สำหรับประเทศไทย”, 2554, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

ศุภกร ชินวรรโณ, วิริยะ เหลืองอร่าม, เฉลิมรัฐ แสงมณี และ จุฑาทิพย์ ธนกิตติ์เมธาวุฒิ, “การจัดทำภาพฉายอนาคตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยจากผลของแบบจำลองภูมิอากาศระดับท้องถิ่น PRECIS”,2553, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, “ศึกษาด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่สำคัญ”, 2554, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

World Bank, “Hydro-Agronomic-Economic Model for Mekong River Basin and Local Adaptation in Thailand”, 2011, Department of water resources.

G. Lenderink, A. Buishand, and W.V. Deursen, “Estimates of future discharges of the river Rhine using two scenario methodologies: direct versus delta approach” Hydrology and Earth System Sciences, 2007, 11(3), pp. 1145-1159.

J.M. Themeßl, A. Gobiet, and A. Leuprecht, “Empiricalstatistical downscaling and error correction of daily precipitation from regional climate models” International Journal of Climatology, 2010, 31(10), pp. 1530-1544.

C. Teutschbein, and J. Seibert, “Bias correction of regional climate model simulations for hydrological climatechange impact studies: Review and evaluation of different methods”, Journal of Hydrology, 2012, pp. 12-29.

ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น, สาคร มณีสาร, นพดล สุยะหลาน, ธนัท นกเอี้ยงทอง, ธนากร จันทร์ทิพย์, รัชเวช หาญชูวงศ์ สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, อนุสรณ์ หอมเมือง, วลัยรัตน์ บุญไทย, สุณัฐพงศ์ สูงสุมาลย์, “แผนงานวิเคราะห์ประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงกรณีศึกษา : การประเมินปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง”, 2552, กรมฝนหลวงและการบินเกษตร.