การศึกษาและสร้างหุ่นยนต์หยอดเมล็ดพืชขนาดเล็กด้วยบอร์ดพัฒนาอาดูโน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์หยอดเมล็ดพืชต้นแบบขนาดเล็กโดยใช้บอร์ดพัฒนาอาดูโน จากหลักการการเคลื่อนที่อัตโนมัติซึ่งหุ่นยนต์จะวิ่งตามเส้นทางที่กำหนดไว้ในการปลูกพืชแต่ละแปลงของเกษตรกร หุ่นยนต์จะเริ่มขุดและหยอดเมล็ดพืช 3-4 เมล็ดต่อหลุมพร้อมกัน โดยมีระยะห่างระหว่างหลุม 20-25 เซนติเมตร โดยหุ่นยนต์จะทำการหยอดเมล็ดพืชไปตามเส้นทางที่กำหนด ในการทดลองทำการทดสอบโดยใช้เมล็ดข้าวโพด สำหรับระบบควบคุมมีการออกแบบระบบควบคุมหุ่นยนต์แบบแมนนวลและแบบอัตโนมัติ โดยมีการประยุกต์ใช้โมดูลเซ็นเซอร์แสงอินฟราเรดสำหรับตรวจจับวัตถุกีดขวาง ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์หยอดเมล็ดข้าวโพดในระยะทาง 20 เมตรแบบอัตโนมัติ พบว่าหุ่นยนต์ใช้เวลาเฉลี่ย 2.08 นาที และมีค่าความคาดเคลื่อนฉลี่ย 9.7 เซนติเมตร ต่อแนวร่องปลูกความยาว 20 เมตร คิดเป็นร้อยละ 4.85
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร Engineering Transactions คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
References
Industrial Park Co., Ltd., Industry 4.0: Thailand’s Turning Point for the Future of Manufacturing. [ออนไลน์]: https://www.304industrialpark.com/th/articles-detail/51/Industry-40-Thailand [สืบค้น เมื่อ 27 พ.ย. 2564].
P. Kumar, G. Ashok, “Design and fabrication of smart seed sowing robot”, Materials Today: Proceedings, vol. 39, part 1, pp. 354-358, 2021.
P. V. Santhi, N. Kapileswar, V. K. R. Chenchela, V. S. Prasad, “Sensor and vision based autonomous AGRIBOT for sowing seeds”, in Proc. IEEE International Conference on Energy, Communication, Data Analytics and Soft Computing (ICECDS), pp. 242-245, 2017.
R. V. Marode, G. P. Tayade, S. K. Agrawal, “Design and Implementation of Multi Seed Sowing Machine”, International Journal of Mechanical Engineering and Robotics Research, pp. 422-429, 2013.
ปรมัตถ์ จันทรโคตร, ปัญญาสัมปทา จันทวิสา, ณัฐพงษ์ หมูนดี, “การออกแบบและสร้างเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแบบอัตโนมัติ”, วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2563.
S. Prongnuch and S. Sitjongsataporn, "Exterior Car Parking Assistance Algorithm Based on Reconfigurable System for Future Industry," Journal of Mobile Multimedia (JMM), Vol.16, No.1-2, 2020.
KANTO เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ รุ่น KT-SEED-2. [ออนไลน์] https://nocnoc.com/p/Garden-Tools/KANTO-เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์-ร/10385207?area=carousel-BsimilarProducts-10171810&index=6 [สืบค้น เมื่อ 27 พ.ย. 2564].
ข้าวโพด. [ออนไลน์]. https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวโพด [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2565]
สมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย. [ออนไลน์] http://www.thaimaizeandproduce.org/index.php/ข้าวโพด/10-service.html [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค.2565].
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, “ข้าวโพด: การจำแนกชนิดของข้าวโพด”. [ออนไลน์]. https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=8879 [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค.2565].
https://www.arduino4.com/product/93/infrared-obstacle-avoidance-sensor-module [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค.2565].