การวิเคราะห์ความแคล่วคล่องของหุ่นยนต์โครงสร้าง 7 ขา

Main Article Content

ชิต เหล่าวัฒนา
วรพัฒน์ นุกูลวุฒิโอภาส
สิงหา ลีระพันธ์

Abstract

การวิเคราะห์ความแคล่วคล่อง (dexterity) โดยทั่วไปนั้นพิจารณาเฉพาะตัวของหุ่นยนต์เท่านั้นไม่ได้รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่หุ่นยนต์ต้องทำงาน แต่หุ่นยนต์จำต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเสมอจึงไม่สามารถนำผลวิเคราะห์ไปใช้ในงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เสนอการวิเคราะห์ความแคล่วคล่องโดยรวมตัวหุ่นยนต์และสิ่งแวดล้อมที่หุ่นยนต์ทำงานเข้าเป็นระบบเดียวกัน ในที่นี้พิจารณาหุ่นยนต์เดินแบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-autonomous walking machine) : Frame Walker กับงานหุ่นยนต์ กระทำได้แก่การเคลื่อนที่หลบผ่านสิ่งกีดขวาง ผลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบระบบทางกลของหุ่นยนต์ได้ ขั้นตอนการวิเคราะห์เริ่มจากการคำนวณหาดรรชนีความยาก (index of diffivulty) จากทฤษฎีด้านข้อมูล ดรรชนีนี้ชี้ความยากง่ายในงานที่หุ่นยนต์ต้องกระทำ และท้ายที่สุดได้ทำการวิเคราะห์หาความแคล่วคล่องของหุ่นยนต์ เมื่อค่านี้เป็นบวกสามารถแน่ใจว่า หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ต้องการนั้นได้

Article Details

Section
Original Articles
Author Biographies

ชิต เหล่าวัฒนา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม

วรพัฒน์ นุกูลวุฒิโอภาส, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

สิงหา ลีระพันธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล