การศึกษารูปแบบการเกษตรที่เหมาะสมบางประการในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Main Article Content

ศุภกิจ วนะสิทธิ์
อรพิน เกิดชูชื่น

Abstract

การศึกษารูปแบบการเกษตรที่เหมาะสมบางประการ ในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อเสนอทางเลือกในการผลิตไม้ผลให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีขั้นตอนการศึกาาหลักๆ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์พืชที่เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยพิจารณาจากปัจจัยความเหมาะสมของไม้ผลตามความคิดเห็นของเกษตรกร ปัจจัยสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ปัจจัยลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และปัจจัยความต้องการทางสรีรวิทยาของพืช ส่วนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์พื้นที่ศึกษาโดยใช้โปรแกรม ARC/INFO version 6.0 พบว่าไม้ผลที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ศึกษามีจำนวน 12 ชนิด คือ ส้มโอ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ฝรั่ง กล้วย มะพร้าว ขนุน มะขาม กระท้อน และ น้อยหน่า จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพพบว่า อำเภอจอมบึงมีพื้นที่รวม 510,163.30 ไร่ ประกอบด้วยชุดดิน 32 ชุดดิน และชุดดินยาง ตลาดมีพื้นที่มากที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอจอมบึงเป็นที่ราบ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดีแต่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีความเป็นกรดด่าง (pH) 5.5-7.0 หน้าดินส่วนใหญ่ลึก 25-75 เซนติเมตร และมีระดับน้ำใต้ดิน 120 เซนติเมตร การศึกษาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับไม้ผล 12 ชนิด พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอจอมบึง มีความเหมาะสมปานกลางสำหรับการปลูกส้มโอ มะขามเทศ กระท้อน มะม่วง ฝรั่ง กล้วย มะขาม ขนุน มะพร้าว น้อยหน่า และมีความเหมาะสมน้อยสำหรับการปลูก ลิ้นจี่ และลำไย นอกจากนี้พบว่ามีพื้นที่ 22,032 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตำบลจอมบึงและเป็นพื้นที่ที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีความเหมาะสมปานกลาง สำหรับการปลุก ส้มโอ มะขามเทศ กระท้อน มะม่วง ฝรั่ง กล้วย มะขาม ขนุน มะพร้าว และน้อยหน่า และมีความเหมาะสมน้อยสำหรับการปลูก ลิ้นจี่ และลำไย เช่นเดียวกัน

Article Details

Section
Original Articles
Author Biographies

ศุภกิจ วนะสิทธิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ

อรพิน เกิดชูชื่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

อาจารย์สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ