ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชบางชนิดร่วมกับสารเคลือบผิวที่มีต่อโรคแอนแทรคโนส และขั้วผลเน่าของมะม่วงในระหว่างการเก็บรักษา

Main Article Content

ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์
เฉลิมชัย วงษ์อารีย์
ธิติมา วงษ์ชีรี

Abstract

ประสิทธิภาพของสารสกัดจากว่านน้ำ (Acorus calamus) โป้ยกั๊ก (Illicium verum) ยาสูบ (Nicotiana tabacum) และหมากสง (Areca catechu) ในการควบคุมการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์เชื้อรา Colletrichum gloeosporioides และ Botryodiplodia theobromae ที่ระดับความเข้ามข้น 500 1,000 5,000 และ 10,000 มก./ล. พบว่าสารสกัดทั้ง 4 ชนิดสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์เชื้อรา C. gloeosporioides ได้ดีกว่าเชื้อรา B. theobromae และสามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ดีกว่าการเจริญของเส้นใย สารสกัดจากว่านน้ำและโป๊ยกั๊กที่ความเข้มข้น 5,000 และ 10,000 มก./ล. มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราทั้ง 2 ชนิดได้ดี เมื่่อพิจารณาค่า ED<sub>50</sub> ซึ่งแสดงถึงระดับความเป็นพิษของสาร พบว่าค่า  ED<sub>50</sub> ของสารสกัดว่านน้ำที่มีต่อเชื้อรา C. gloeosporioides และเชื้อรา B. theobromae มีค่าเท่ากับ 0.003 และ 0.02 กรัม และค่า ED<sub>50</sub> ของสารสกัดโป้ยกั๊กมีค่าเท่ากับ 0.02 และ 6.61 กรัม ตามลำดับ ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคขั้วผลเน่าของมะม่วง โดยการจุ่มในสารสกัดจากว่าน้ำและโป้ยกั๊กที่ความเข้มข้น 10,000 มก./ล. แบบปกติและจุ่มในสารสกัดด้วยวิธีลดความดันร่วมกับการเคลือบผิดด้วย sta fresh (เบอร์ 360) โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและที่ 13 องศาเซลเซียส พบว่าการจุ่มผลมะม่วงด้วยสารสกัดว่านน้ำและโป้ยกั๊กแบบปกติมีประสิทธิภาพดีในการควบคุมโรค เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงในชุดควบคุม มะม่วงที่จุ่มในสารสกัดด้วยวิธีลดความดัน ทำให้ผลมะม่วงเกิดโรคมากกว่าผลมะม่วงที่จุ่มแบบปกติ ผลมะม่วงที่จุ่มในสารสกัดทั้งแบบปกติและจุ่มด้วยวิธีลดความดัน ร่วมกับการเคลือบผิว มีการเกิดโรคและการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยกว่ามะม่วงที่ไม่ได้เคลือบผิว แต่การเคลือบผิวมะม่วงทำให้รสชาติของผลมะม่วงผิดปกติ เกิดกลิ่นหมัก มีรสเปรี้ยว และไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ซึ่งสามารถเก็บรักษามะม่วงที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียสได้เป็นเวลา 16 วัน

Article Details

Section
Original Articles
Author Biographies

ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

อาจารย์คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

เฉลิมชัย วงษ์อารีย์, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

ธิติมา วงษ์ชีรี, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

นักวิจัยสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี