การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน

ผู้แต่ง

  • รัตยากร ไทยพันธ์

คำสำคัญ:

การ์ตูนแอนิเมชัน, แอนิเมชัน 2 มิติ, ฮีโร่บนท้องถนน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน  2) ประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน  และ 3) ศึกษาความพึงพอใจผู้รับชมที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บน    ท้องถนน มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ที่มีความสนใจการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) การ์ตูน แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน ที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับชมการ์ตูนแอนิเมชัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน ที่ได้พัฒนาเป็นสื่อให้ความรู้การปฏิบัติตัวช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน  2) ผลการประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชันโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการประเมิน    2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเนื้อหาของสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน และด้านเทคนิคของสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.34 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน ประเมินโดยกลุ่มตัวอย่าง มีการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเนื้อหาของสื่อ ด้านภาพและเสียง ด้านเทคนิค และด้านประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.31 ซึ่งระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

References

กาญจนา ละลา, วริษฐา ยิ่งยง, และนันทนี ช่วยชู. (2561). “การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันยุติวัณโรค.” ในงานการประชุม

วิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ครั้งที่ 11 "การบูรณาการภูมิปัญญาสู่

นวัตกรรมและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน" มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 88-96.

ข่าวไทยพีบีเอส. (2563). 6 วิธีให้ทาง “รถฉุกเฉิน” ไม่หลบถูกปรับ 500 (Online). https://news.thaipbs.or.th-

/content/271526, 30 พฤษภาคม 2563.

ชญานี ตั้งแก้วเฉลิมวงศ์, ณัฐพล ทับทิม, จักสิทธิ์ โอฬาริกชาติ, นลินี อินทมะโน และดินาถ หลาสุบ. (2561). “แอนิเมชัน

มิติ เรื่อง รักษ์ป่าไม้เท่ากับรักษ์โลก.” ในงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9

“พลวัตการศึกษายุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล” มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 1621-1631.

ดวงพร ไม้ประเสริฐ, และอลงกรณ์ ม่วงไหม. (2563). “การพัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน”.

วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(1), 99-109.

ดาวรถา วีระพันธ์. (2562). “การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การลดภาวะโลกร้อน”. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลง-

กรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1), 59-71.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย. (2563). เจาะลึกสุขภาพ (Online). htps://www.hfocus.org/content/2019/07/17337,

มิถุนายน 2563.

ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม. (2563). หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Online). http://geed.snru.ac.th/UserFiles/File-

/บทที่8การปฐม.pdf, 30 พฤษภาคม 2563.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2563). คู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน (Online). https://www.hfocus.org/sites-

/default/files/files_upload/rapid-manual.pdf, 1 เมษายน 2563.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของ-

กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562 (Online). https://www.otp.go.th/index.php/post/view?-

id=3995&id=3995, 30 พฤษภาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13

How to Cite

ไทยพันธ์ ร. . (2021). การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(1), 33–42. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/SciAndTechSkru/article/view/244644