เปรียบเทียบผลของการฝึกการออกกำลังกายด้วยการวิ่งบนพื้นราบกับบนพื้นทรายที่มีผลต่อ สมรรถภาพทางกาย

ผู้แต่ง

  • สุรัมภา เจริญสุข แก้ววงษ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธนพล แก้ววงษ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การวิ่งบนพื้นราบ, การวิ่งบนพื้นทราย, สมรรถภาพทางกาย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการวิ่งบนพื้นราบกับวิ่งบนพื้นทราย ของนักกีฬากรีฑาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง ทำการฝึกโปรแกรมด้วย การวิ่งบนพื้นราบกับวิ่งบนพื้นทราย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและ หลังการฝึก นำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Simple t – test กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลของค่าเฉลี่ยของกลุ่มฝึกวิ่งบนพื้นราบก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันก่อนฝึกเท่ากับ 9.33 และหลังฝึกเท่ากับ 8.00 ความจุปอดก่อนฝึกเท่ากับ 4300.00 และหลังฝึกเท่ากับ 4400.00 แรงเหยียดขาก่อนฝึกเท่ากับ 195.66 และหลังฝึกเท่ากับ 207.33 เมื่อเปรียบเทียบผลของสมรรถภาพทางกาย พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ความจุปอด แรงเหยียดขา และความเร็วในการวิ่ง 50 เมตร ก่อนและหลังการฝึกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลของค่าเฉลี่ยของกลุ่มฝึกวิ่งบนพื้นทรายก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันก่อนฝึกเท่ากับ 13.66 และหลังฝึกเท่ากับ 11.33 ความจุปอดก่อนฝึกเท่ากับ 4900.00 และหลังฝึกเท่ากับ 5266.66 แรงเหยียดขาก่อนฝึกเท่ากับ 211.33 และหลังฝึกเท่ากับ 216.66 เมื่อเปรียบเทียบผลของสมรรถภาพทางกาย พบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายก่อนและหลังการฝึก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความจุปอด แรงเหยียดขา และความเร็วในการวิ่ง 50 เมตร ก่อนและ หลังการฝึกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). การฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ. กรุงเทพมหานคร: : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประจักษ์ อินโต. (2550). เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายที่เกิดจากการฝึกวิ่งเหยาะกับ การฝึกวิ่งลดแรงกระแทก. ปริญญานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร.

วรวุฒิ สวัสดิชัย. (2551). สมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ.

Zuti, Willian B. and Charles, B. Corbin. (1977). “Physical Fitness Norms for College Freshmen,” Research Quarety. 48(7), 488-503.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23

How to Cite

เจริญสุข แก้ววงษ์ ส. ., & แก้ววงษ์ ธ. (2021). เปรียบเทียบผลของการฝึกการออกกำลังกายด้วยการวิ่งบนพื้นราบกับบนพื้นทรายที่มีผลต่อ สมรรถภาพทางกาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 21–26. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/240870