การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เสริมเพคตินสกัดจากเปลือกส้มโอ

ผู้แต่ง

  • รณชัย จันทร์ตน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ศรัณย์ สิทธิชัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วิจิตรา แดงปรก คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, คุกกี้, เพคตินจากเปลือกส้มโอ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการเติมเพคตินจากเปลือกส้มโอในผลิตภัณฑ์คุกกี้ 3 ระดับ ได้แก่ร้อยละ 0, 5 และ 10 ของน้ำหนักแป้งสาลีต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่าความชื้นของคุกกี้เพิ่มขึ้นเมื่อเติมเพคตินมากขึ้น (p<0.05) ส่วนร้อยละน้ำหนักที่หายไป, การแผ่กระจาย, และค่าสีมีแนวโน้มที่ลดลง เมื่อเติมแพคตินจากเปลือกส้มโอในปริมาณมากขึ้น (p<0.05) ส่วนผลการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่าคุกกี้ที่เสริมเพคตินจากเปลือกส้มโอร้อยละ 5 เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุดในการเติมลงไปในคุกกี้ โดยพบว่ามีคะแนนความชอบไม่แตกต่างกับคุกกี้ที่ไม่เสริมเพคติน (ตัวอย่างควบคุม) (p>0.05)

References

ฉัตรชัย สังข์ผุด, จีราภรณ์ สังข์ผุด และ จินตนา แก้วชนะ. (2554). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอ ด้วยสารละลายกรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 7(1), 37-46.

ชินานาฏ วิยาประภากร และ สัชญ์ ทวีเกษมสมบัติ. (2555). การศึกษาสภาสะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากวัสดุทางการเกษตร.วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร ฉบับพิเศษ. 5, 184-189.

ธานุวัฒน์ ลาภตันศุภผล, ปฏิมา ทองขวัญ และ ศิริลักษณ์ สรงพรมทิพย์. (2556). การสกัดเพคตินจากเปลือกผักและผลไม้.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(2)(พิเศษ), 433-436.

ธิดารัตน์ เปรมประสพโชค และ ศศิธร ประไพรภัส. (2558). การทดแทนน้ำตาลทรายในคุกกี้ด้วยกล้วยน้ำว้า. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 53 กรุงเทพมหานคร. น. 923-930.

ธิติมา คุณยศยิ่ง, ศิริมาเอมวงษ์, ไพฑูรย์ เกิดพร้อม และ แวอีเลียส บินโซดาโอะ. (2552). การศึกษาการลดน้ำหนักเนื้อดินสำหรับการประดิษฐ์เครื่องประดับเซรามิก. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 50-61.

นราธิป ปุณเกษม. (2559). การพัฒนาคุกกี้เนยสดเสริมใยอาหารจากอัลเบโดของส้มโอ. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science. 9(1), 35-49.

ปฐมพงษ์ เที่ยงเพชร, ราตรี บุมี และ ภาณุมาส อุนสมัย. (2559). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอด้วยกรดไฮโดรคลอริก. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรครั้งที่ 3 วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 339-346.

วิวัฒน์ หวังเจริญ. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชา ทอ 330 การควบคุมคุณภาพอาหาร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.143 หน้า.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. (2551). การผลิตและคุณสมบัติของใยอาหารจากเปลือกส้มโอเพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร.The 1st NPRU Academic Conference 2008. 1-12.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. (2553). การเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอในผลิตภัณฑ์หมูยอ. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ กรุงเทพมหานคร. 269-276.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ, มนตรา ล่วงลือ, ปวีนา สมบูรณ์ผล และ สละ บตรโชติ. (2557). หมูแท่งเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอส่วนขาว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(2), 8-18.

อมรรัตน์ ถนนแก้ว, นุชรีย์ ราวารัตน์, ยุพาวรรณ ก้อนเรือง, สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์ และ เถวียน บัวตุ่ม. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เสริมแพคตินจากเปลือกมะนาว. Thaksin University Journal, 11(2), 39-55.

AACC. (2000). Approved Method of the American Association of Cereal Chemists. 8th ed. The American Association of Chemists. St. Paul, Minnesota.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23