ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ปี พ.ศ.2560-2562
คำสำคัญ:
ไข้เลือดออก, ดัชนีลูกน้ำยุงลาย, ทันระบาดบทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออกนับเป็นโรคที่สำคัญและยังเป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโดยตรง การป้องกันโรคไข้เลือดออกจึงอยู่ที่การควบคุมยุงพาหะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี ได้ดำเนินการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้แอพพลิเคชั่นทันระบาดทดแทนการบันทึกด้วยแบบฟอร์มกระดาษ การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลายจากการใช้แอพพลิเคชั่นทันระบาดเพื่อศึกษาความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 และศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายกับอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2560-2562 ผลการศึกษาพบว่าการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงสุดในปี พ.ศ. 2560 บ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (HI) สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 17.98 ภาชนะที่พบลูกน้ำ(CI) สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 6.00 จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน (BI) สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 31.13 การสำรวจภาชนะเสี่ยง พบว่าภาชนะเสี่ยงที่พบลูกน้ำมากที่สุดในภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2562 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ได้แก่ ภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 17 รองลงมา ได้แก่ ที่รองกันมด ที่รองตู้เย็น/เครื่องทำน้ำเย็น และยางรถยนต์เก่า คิดเป็นร้อยละ 15, 14 และ 13 ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมลูกน้ำยุงลายกับอุบัติการณ์ของการเกิดโรค พบว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกกับค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI และ BI) ทั้งรายจังหวัดและในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 4 ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (p-value > 0.05
References
ฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์. (2553). ชีววิทยา นิเวศวิทยาและการควบคุมยุงในประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด.
กองระบาดวิทยา. (2563) .ระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506). http://www.boe.moph.go.th/. (สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2563).
ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. (2561). ระดับของดัชนีลูกน้ำยุงลายจากแอพพลิเคขั่นทันระบาดกับความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ปีที่ 49 ฉบับที่ 23, 353-359.
วีรพงษ์ ปงจันตา. (2549). ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, ปีที่ 2 ฉบับที่ 3, 230-235.
ไสว โพธิมล และ สุภาภรณ์ โคตรมณี. (2558). การสำรวจความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2554-2557. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1, 42-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว