อิทธิพลของกรรมวิธีทางความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงสีของทัวร์มาลีนสีเขียวจากประเทศโมซัมบิก

ผู้แต่ง

  • วรฉัตร อังคะหิรัญ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วิโรจน์ อิ่มเอิบ คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ภัทรบดี พิมพ์กิ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ทัวร์มาลีน, โมซัมบิก, การเผาพลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกรรมวิธีทางความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงสีของทัวร์มาลีนสีเขียวจากประเทศโมซัมบิก โดยใช้ทัวร์มาลีนสีเขียวจำนวน 27 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ตัวอย่างผ่านกรรมวิธีทางความร้อนด้วยเทคนิคเผายกที่อุณหภูมิ 350, 400 และ 450 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6, 12 และ18 ชั่วโมง วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพด้วยเครื่องมือวิเคราะห์อัญมณีขั้นพื้นฐาน และวิเคราะห์การเปลี่ยนสีด้วยภาพถ่าย ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างมีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วง 2.99 ถึง 3.10 ค่าดรรชนีหักเห nε มีค่า 1.620 ถึง 1.630 และ nω มีค่าอยู่ที่ 1.640 ถึง 1.644 การเปรียบเทียบสีและความใสของตัวอย่างก่อนเผาและหลังเผานั้นพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสีแต่มีความใสเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 3, 8 และ 9 มีสีเหลืองเพิ่มขึ้นและมีความใสเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

References

กฤษณะ เวชพร. (2548). อัญมณีวิทยา. เชียงใหม่: นพรัตน์การพิมพ์.

พิมพ์ทอง ทองนพคุณ และจิราเจต บำรุงพล. (2560). การเปลี่ยนแปลงสีของทัวร์มาลีนสีเขียวจากแหล่งมาดากัสการ์ด้วยการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22 (ฉบับพิเศษ), 299-308.

เมธิณี เขียวทิพย์. (2558). วิทยาแร่ของทัวร์มาลีนสีเขียวจากประเทศมาดากัสการ์ โมแซมบิกและแทนซาเนีย. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2562). ศูนย์กลางการค้าและผลิตพลอยสีของไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก https://infocenter.git.or.th/GemDB_BE/upload

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23