การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ Escherichia coli ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุรชัย รัตนสุข คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • นรินทร์ อุบลบาน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • รติรส เสี่ยงสาย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

น้ำดื่มบรรจุขวด, การปนเปื้อน, เอสเชอริเชีย โคไล

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดในปัจจุบันส่งผลต่อการเพิ่มการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดมากขึ้นตามไปด้วย น้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายต้องผ่านมาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทโดย เชื้อ E. coli เป็นแบคทีเรียที่ใช้เป็นดัชนีในการบ่งชี้คุณภาพน้ำดื่มที่ต่ำกว่ามาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนเชื้อ E. coli ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 43 ตัวอย่าง นำมาตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ E. coli โดยเลี้ยงด้วยอาหารเชื้อ Eosin Methylene Blue Agar (EMB) และตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง ผลการทดสอบการปนเปื้อนเชื้อ E. coli ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ดพบมีน้ำดื่มบรรจุขวดจำนวน 6 ตัวอย่าง (13.95 %) ที่พบการปนเปื้อนของเชื้อ E. coli และพบว่าค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำดื่มทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50 - 8.19

References

ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา, โสภนา วงศ์ทอง, พงศธร ปานทอง และ นพมาศ จงสวัสดิ์วัฒนา. (2018). การศึกษาคุณภาพน้ำดื่มจากจุดบริการน้ำดื่ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 37(1), 25-37.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2557) มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดชนิดขวดขุ่นที่จำหน่ายในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 7(2), 104-111.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2559). การตรวจสอบคุณภาพของนํ้าดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(3), 127-136.

สุวรรณภรณ์ สุวรรณศรี. (2555). ความคิดเห็นต่อน้ำดื่มบรรจุขวดตราสิงห์และพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ahmed, T., Acharjee, M., Rahman, M. S., Meghla, M., Jamal, J., Munshi, S. K. and Noor, R. (2013). Microbiological study of drinking water: qualitative and quantitative approach. Asian Journal of Microbiology, Biotechnology & Environmental Sciences, 15(4), 23-458.

Ku, L. C., Boggess, K. A. and Cohen-Wolkowiez, M. (2015). Bacterial meningitis in the infants. Clinics in Perinatology, 42(1), 29-45.

Makvana, S. and Krilov, L. R. (2015). Escherichia coli infections. Pediatrics in Review, 36(4), 167-170; quiz 171.

Momtaz, H., Dehkordi, F. S., Rahimi, E. and Asgarifar, A. (2013). Detection of Escherichia coli, Salmonella species, and Vibrio cholerae in tap water and bottled drinking water in Isfahan, Iran. BMC Public Health, 13(1), 556.

Kusmawati, W.and Rahayu, L. (2019). Contamination of Escherichia coli Drinking Water Refills on Drinking Water Depots in Malang City. Biogenesis: Jurnal Ilmiah Biologi, 7(1), 9-13.

Pant, N. D., Poudyal, N. and Bhattacharya, S. K. (2016). Bacteriological quality of bottled drinking water versus municipal tap water in Dharan municipality, Nepal. Journal of Health, Population and Nutrition, 35(1), 17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23

How to Cite

รัตนสุข ส. ., อุบลบาน น., & เสี่ยงสาย ร. . (2021). การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ Escherichia coli ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 54–58. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/242472