กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์ถั่วบางชนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
คำสำคัญ:
เนื้อเยื่อชั้นผิวใบ, พืชวงศ์ถั่ว, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบทคัดย่อ
ศึกษาเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์ถั่ว จำนวน 14 สกุล 16 ชนิด ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยวิธีการลอกผิวใบ ย้อมด้วยสีซาฟรานิน ความเข้มข้น 1% ผลการศึกษา พบว่าลักษณะกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปของพืชวงศ์นี้ คือ 1) รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีรูปร่างหลายเหลี่ยม รูปร่างไม่แน่นอน หรือรูปร่างคล้ายจิกซอว์ 2) ผนังเซลล์เป็นแบบโค้งเล็กน้อย เว้าลึก หรือเว้าเป็นคลื่น 3) ชนิดของปากใบเป็นแบบแอนอโมไซติก แอนไอโซไซติก พาราไซติกและไดอะไซติก และ 4) ชนิดของขนเป็นขนเซลล์เดียวและขนหลายเซลล์ ลักษณะที่สามารถนำมาใช้ระบุชนิดพืชที่ศึกษาได้คือ รูปร่างของผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว ลักษณะของไทรโคม และชนิดของปากใบ
References
กชวรรณ ไวว่อง, อนิษฐาน ศรีนวล และวิโรจน์ เกษรบัว. (2562). กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบเพื่อการระบุชนิดพืชสกุล Lysiphyllum (Benth.) de Wit วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Fabaceae Caesalpinioideae) ในประเทศไทย. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย, ปีที่ 11(2), 151–168.
ก่องกานดา ชยามฤต และวรดลต์ แจ่มจำรูญ. (2559). คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สิทธิโชค.
เจนจิรา จตุรัตน์. (2543). สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของถั่วพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน และแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. จังหวัดเชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชฎาพร เสนาคุณ, อิสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล, สมบัติ อัปมระกา และพัฒนา ภาสอน. (2562). กายวิภาคศาสตร์ใบพืชหายาก 13 ชนิด ในภาคตะวันออกฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว., ปีที่ 36(1), 129–144.
ณัฐธัญ แสนบัวผัน. (2548). ฤทธิ์ลดระดับกลูโคสในเลือดของสารสกัดใบขี้เหล็กและผลต่อลักษณะทางจุลพยาธิสภาพของตับอ่อน
และตับในหนูแรทเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. จังหวัดขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เทียมใจ คมกฤส. (2541). กายวิภาคของพฤกษ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นฤพร สุทธิสวัสดิ์ และศุทธินี ธไนศวรรยางค์กูร. (2549). ฤทธิ์กันเสียของฝาง (Caesalpiniasappan L.) ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำพริก. โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรางคณา สุวรรณรัตน์, สุวิมล อุทัยรัศมี และประศาสตร์ เกื้อมณี. (2563). กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบก้านใบย่อยของไม้ต้น 6 ชนิด ในสกุล Dalbergia (Fabaceae). Thai Journal of Science and Technology, ปีที่ 9(4), 479-490.
ศกุลตลา นิลแก้ว และประนอม จันทรโณทัย. (2555). การศึกษาเบื้องต้นของพืชสกุลทองกวาว (Butea Roxb. ex Willd.) และสกุลเถาพันซ้าย (Spatholobus Hassk.) วงศ์ถั่ว (Leguminosae - Papilionoideae) ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2558). คู่มือสมุนไพรพื้นบ้านป่าชุมชนโนนใหญ่. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ.
อัจฉรา ธรรมถาวร. (2538). คู่มือการทำสไลด์ถาวรเนื้อเยื่อพืชโดยกรรมวิธีพาราฟิน. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kotresha, K. & Seetharam, Y. N. (1995). Epidermal studies in some species of Bauhinia L. (Caesalpinioideae). Phytomorphology, 45(1&2), 127-137.
Lin, Y., Wong, W.O., Shi, G., Shen, S. & Li, Z. (2015). Bilobate leaves of Bauhinia (Leguminosae, Caesalpinioideae, Cercideae) from the middle miocene of Fujian province, southeastern China and their biogeographic implications. BMC Evolutionary Biology, 15(1), 252–268.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว