การบริหารจัดการสินค้าคงคลังของวัสดุสิ้นเปลือง: กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารแปรรูป

ผู้แต่ง

  • Walailak Atthirawong ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • Thidaporn Phonnon ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • Auksarapak Lamaipun ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • Patriya Seanoun Student at Department of Statistics Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang

คำสำคัญ:

การจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล, การวิเคราะห์แบบ ABC, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด, ระดับสินค้าคงคลัง วัสดุสิ้นเปลือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหานโยบายการสั่งซื้อที่เหมาะสมของวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในโรงงานผลิตอาหารแปรรูป ซึ่งในปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาได้เลือกใช้นโยบายการสั่งซื้อที่กําหนดตามข้อมูลความต้องการใช้วัสดุสิ้นเปลืองที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยังไม่มีการนำนโยบายใดมาประยุกต์ใช้ จากการศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่าวัสดุสิ้นเปลืองบางรายการมีการขาดแคลนในขณะที่บางรายการมีจำนวนมากเกินความต้องการ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมของสินค้าคงคลังสูงขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอนโยบายการหาปริมาณการสั่งซื้อวัสดุสิ้นเปลืองเพื่อกำหนดการหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมและจุดสั่งซื้อใหม่ของวัสดุสิ้นเปลืองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมให้กับบริษัทกรณีศึกษา โดยนำเทคนิค ABC Analysis มาใช้ในการจัดกลุ่มสินค้าตามลำดับความสำคัญแล้วทำการคัดเลือกเฉพาะวัสดุสิ้นเปลืองกลุ่ม A คือเทปซีลกันความร้อนมาเป็นตัวแทนเพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดกับเทคนิคการจำลองสถาการณ์แบบมอนติคาร์โล จากนั้นทำการปรียบเทียบต้นทุนสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 วิธีเพื่อหาวิธีที่เหมาะสม

ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคแบบ Monte Carlo มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) ของปริมาณความต้องการใช้เทปซีลกันความร้อนในปีที่ผ่านมาพบว่ามีค่าเท่ากับ 1.27 ซึ่งสอดคล้องกับ Peterson-Silver Rule ที่ระบุว่าหากความต้องการของวัสดุมีค่าไม่คงที่โดยมีค่าสูงกว่า 0.20 แล้วเทคนิค EOQ จะไม่เหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมและจุดสั่งซื้อใหม่

References

ณัฎฐา ดวงศรี, ดวงพร จันทร์อ่อน และธันยาภรณ์ สาลี. (2560). การหาปริมาณวัตถุดิบที่เหมาะสมโดยใช้การจำลองสถานการณ์ แบบมอนติคาร์โล : กรณีศึกษา บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ฝ่ายครัวการบินไทย. ปัญหาพิเศษสาขาวิชาสถิติประยุกต์ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธนัญญา วสุศรี. (2552). การจัดการสินค้าคลังและการกระจายสินค้า.กรุงเทพ ฯ: หจก.สุเนตรฟิล์ม
ธนัญญา วสุศรี และ วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2553). การบริหารสินค้าคงคลัง. หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง โครงการพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในประเทศไทย.
พิภพ ลลิตาภรณ์. (2552). การบริหารพัสดุคงคลัง. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2561). การวางแผนการผลิต. กรุงเทพ ฯ: คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วัลลภ ภูผา. (2557).การประยุกต์ใช้เทคนิคการจําลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษา การจัดซื้อวัตถุดิบในโรงงานผลิตอาหารแปรรูป.วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 88(27), 41-56.
Hong J.D. and Hayya J.C. (1990). On an (s, Q) Production Policy for an Integrated Inventory Model for a Single Product with Linearly Increasing Demand. The Journal of the Operational Research Society, 41(10), 931-942.
Khouja M. (1995). The economic production lot size model under volume flexibility. Computers and Operations Research, 22(5), 515–523.
Lordahl, A. E. and Bookbinder J. H. (1994). Order-statistic calculation, costs and service in an (s, Q) inventory system. Naval Research Logistics, 81–97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-24

How to Cite

Atthirawong, W., Phonnon, T., Lamaipun, A., & Seanoun, P. (2019). การบริหารจัดการสินค้าคงคลังของวัสดุสิ้นเปลือง: กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารแปรรูป. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 1–17. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/204743