แบบจำลองค่าสุดขีดของปริมาณฝนรายเดือนบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Manad Khamkong

คำสำคัญ:

การแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไป, ค่าสุดขีด, ระดับการเกิดซ้ำ, ปริมาณฝนรายเดือน, ลุ่มน้ำปิงตอนบน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณฝนรายเดือนบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไปและเพื่อหาระดับการเกิดซ้ำของปริมาณฝนรายเดือน ในรอบปีการเกิดซ้ำต่าง ๆ การศึกษานี้ใช้ข้อมูลปริมาณฝนรายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 6 สถานี  ได้แก่ สถานีอำเภอเวียงแหง สถานีอำเภอแม่แตง สถานีอำเภอสันทราย สถานีอำเภอดอยสะเก็ด สถานีอำเภอเมืองและสถานีอำเภอแม่วาง ผลการศึกษาพบว่า สถานีอำเภอเวียงแหง สถานีอำเภอสันทราย  สถานีอำเภอดอยสะเก็ด สถานีอำเภอเมืองและสถานีอำเภอแม่วาง แบบจำลองการแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไปที่กระบวนการคงที่เหมาะสมมากที่สุด ขณะที่สถานีอำเภอแม่แตงแบบจำลองการแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไปเมื่อพารามิเตอร์แสดงตำแหน่งเปลี่ยนแปลงในเชิงฟังก์ชันแบบเลขชี้กำลังเหมาะสมมากที่สุด  สำหรับค่าประมาณระดับการเกิดซ้ำของปริมาณรายเดือน สถานีอำเภอแม่วางมีระดับการเกิดซ้ำของปริมาณฝนรายเดือนมากที่สุด ในทุก ๆ รอบปีการเกิดซ้ำ ดังนั้น สถานีอำเภอแม่วางควรจะมีการให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันการเกิดอุทกภัยเนื่องจากมีระดับการเกิดซ้ำของปริมาณฝนรายเดือนมากที่สุด

 

References

ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล. (2551) การวิเคราะห์ความถี่ของอุทกภัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิพย์ธิดา ปลัดกอง, พิมพ์วรัชญ์ นันทพฤทธิ์และ กุณฑลี ไชยสี. (2562). การวิเคราะห์ค่าสุดขีดและประมาณระดับการเกิดซ้ำของข้อมูลปริมาณน้ำฝน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี สาขาสถิติระดับชาติ ครั้งที่ 2, 119 – 127.
ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ และ อรุณ แก้วมั่น. (2558). สถิติค่าสุดขีด.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(2), 315-324.
ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ มาลา ศิริบูรณ์ และ อรุณ แก้วมั่น. (2558). แบบจำลองค่าสุดขีดปริมาณน้ำฝนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 20(1), 106 – 117.
พัณณิ์ภาริษา ของทิพย์, มานัดถุ์ คำกอง และ พุฒิพงษ์ พุกกะมาน. (2556). การสร้างแบบจำลองค่าสุดขีดปริมาณฝนประจำปีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา,18(1), 95 - 104.
ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน. (2563). สภาพน้ำฝน. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563 จาก http://www.hydro-1.net/
อรุณ แก้วมั่น, เสาวนีย์ รัตนะวัน, ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ และ บังอร กุมพล. (2557). การสร้างแบบจำลองค่าสุดขีดปริมาณฝนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์,13(2), 55 – 65.
อารียา ฤทธิมา. (2561). เอกสารประกอบการสอนอุทกวิทยา (Hydrology), นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Akaike, H. (1973). Information theory and an extension of the maximum likelihood principle. The 2nd International Symposium on Information Theory, 267-281.
Coles, S. (2001). An Introduction to Statistical Modeling of Extremes Values. Great Britain: Springer-varlag London Limited.
Haugh, M. (2013). Extreme Value Theory. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563 จาก http://www.columbia.edu/~mh2078 /QRM/EVT_MasterSlides.pdf
R Development Core Team. (2009). A Language and Environment for Statistical Computing, R Foundation for Statistical Computing. Vienna, Austria.
Schwarz, G. (1978). Estimating the dimension of a model. Annals of Statistics, 6(2), 461-464.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15

How to Cite

Khamkong, M. (2020). แบบจำลองค่าสุดขีดของปริมาณฝนรายเดือนบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 32–44. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/241876