การประยุกต์ใช้การรวมผลิตภัณฑ์กับกล่องบรรจุภัณฑ์ และการเติมสินค้าร่วมกันหลายรายการกับสก๊อตเทปปิดกล่อง กรณีศึกษาบริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งหนึ่งในประเทศไทย
บทคัดย่อ
ด้วยปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษามีความยุ่งยากในการบริหารจัดการกับชนิดของกล่องที่มีความหลากหลาย และประสบปัญหาคลังจัดเก็บสำหรับกล่องบรรจุภัณฑ์ไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากขนาดคลังสินค้ามีขนาดไม่ใหญ่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหานโยบายการสั่งซื้อใหม่ และกำหนดระดับของวัตถุดิบคงคลังของกล่องบรรจุภัณฑ์ในคลังใหม่ เพื่อลดปริมาณการใช้พื้นที่จัดเก็บในคลังจัดเก็บ และเพื่อลดต้นทุนรวมของการบริหารจัดการ กลุ่มตัวอย่างกล่องบรรจุภัณฑ์มีทั้งหมด 9 ชนิด และมีวัตถุดิบอีกชนิดที่ใช้ในการศึกษาควบคู่ไปด้วยก็คือสก๊อตเทปที่ใช้ปิดผนึกกล่อง โดยจะศึกษาหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะความต้องการใช้ (Demand Type) กล่องบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิด และนำไปศึกษาหานโยบายวัตถุดิบคงคลังใหม่ โดยที่จะใช้ข้อมูลปริมาณการใช้กล่องในอดีตย้อนหลังตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560-2561 มาใช้ในการพยากรณ์ปริมาณและการกำหนดค่านโยบายต่าง ๆของสินค้าคงคลังใหม่ และจะนำนโยบายสินค้าคงคลังใหม่ไปจำลองใช้กับความต้องการที่เกิดขึ้นจริงในปีพ.ศ. 2562 โดยที่นโยบายใหม่ที่กำหนดขึ้นจะมี 2 รูปแบบคือ 1) นโยบายรูปแบบที่1 ยังคงรูปแบบและจำนวนชนิดของกล่องบรรจุภัณฑ์ไว้คงเดิมแต่คำนวณปริมาณการสั่งซื้อใหม่ 2) นโยบายรูปแบบที่2 จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการรวมผลิตภัณฑ์(Product Pooling) หรือการลดจำนวนชนิดของกล่องให้สามารถใช้ร่วมกันได้ สำหรับนโยบายที่ 1 จะใช้นโยบายการสั่งซื้อขนาดประหยัด(EOQ) และการหาขนาดการสั่งซื้อที่เหมาะสมแบบพลวัต (Dynamic Lot sizing) มาใช้ โดยที่นโยบายการสั่งซื้อสก๊อตเทปยังคงใช้ตามนโยบายเดิมของบริษัทคือ นโยบายทบทวนสินค้าคงคลังตามรอบเวลา (Periodic-review) สำหรับนโยบายรูปแบบที่2 จะลดจากกล่อง 9 ชนิดให้เหลือเพียง 2 ชนิดโดยจะใช้นโยบายการการบริหารจัดการด้วยวิธีการสั่งซื้อขนาดประหยัด (EOQ) และจะมีการเพิ่มชนิดวัตถุดิบสก๊อตเทปจาก 1 ชนิด เพิ่มเป็น 9 ชนิดที่มีความแตกต่างตามรสชาติของผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนการบ่งชี้รสชาติของผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมที่ใช้กล่องเป็นตัวบ่งชี้ ซึ่งจะใช้นโยบายการเติมเต็มร่วมแบบสามารถจัดหาได้ (Can order policy) ในการบริหารจัดการ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า นโยบายรูปแบบที่ 1 ค่าเฉลี่ยของจำนวนพาเลทที่จัดเก็บในคลังเพิ่มขึ้นจากเดิม 17 พาเลท, มีต้นทุนรวมที่ลดลง 89,151.40 บาทต่อปี และให้ค่า%Fill rate เท่ากับ 99.3% และนโยบายรูปแบบที่ 2 ให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนพาเลทที่จัดเก็บในคลังลดลง 24 พาเลทจากเดิม, ต้นทุนรวมลดลง 2,352,197.91 บาทต่อปี และให้ค่า %Fill rate เท่ากับ 97.5 % นโยบายสินค้าคงคลังแบบใหม่ทั้งสองแบบนั้น ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่านโยบายแบบเดิมของบริษัทในเรื่องของต้นทุนรวม แต่นโยบายรูปแบบที่2 สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของบริษัทได้ดีที่สุดทั้งในเรื่องของการลดใช้พื้นที่จัดเก็บในคลัง และการลดต้นทุนภาพรวมของการบริหารจัดการ
References
ณัฐพล สันแก้ว. 2562. การกำหนดนโยบายสินค้าคงคลังแบบเติมเต็มร่วมกันหลายรายการโดยผู้ผลิตจัดส่งแบบเต็มคันรถ. กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานทาง E-Commerce แห่งหนึ่ง. (การจัดการโลจิสติกส์) การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิรชร วะชุม. (2559). การวิเคราะห์หาจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมการสั่งซื้อถ่านหิน กรณีศึกษา บริษัทอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของบริษัทแห่งหนึ่ง. (การจัดการโลจิสติกส์)การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัญชลี แซ่เจียม. 2561. การกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม. กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตสารเคลือบผิวแห่งหนึ่ง. (การจัดการโลจิสติกส์) การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Axsater, S. (2006). Inventory Control. Second Edition, New York: Springer.
Cachon, G. and Terwiesch, C. (2009). Matching Supply with Demand: Introduction to Operations Management. New York: McGraw-Hill.
Hyndman, R. J. & Athanasopoulos, G. (2018). Forecasting: Principles and Practices. Second Edition, Middletown, DE: OText.
Love, Stephen F. (1979). Inventory Control. New York: McGraw-Hill.
Silver, E. A., D. F. Pyke, & R. Peterson. (1998). Inventory Management and Production Planning and Scheduling. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Syntetos, A., Boylan, J. E. & Croston J. D. (2005). On the categorization of demand patterns. Journal of the Operational Research Society, 56(5), 495-503.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น