บทความรับเชิญ: ใคร Vote ให้ ใคร? ศึกชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2565

Authors

  • พาชิตชนัต ศิริพานิช
  • เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

Abstract

การเลือกตั้งเป็นช่องทางที่สำคัญในการที่ประชาชนจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Wolfinger and Rosenstone, 1980) การเลือกตั้งไม่ว่าในระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่นก็ตาม นอกจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งแล้ว ยังมีกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญอีก 2 กลุ่ม คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้ง แต่กลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะผลของการเลือกตั้งจะออกมาเช่นใด ผู้สมัครคนใดชนะการเลือกตั้งก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามมีประเด็นปัญหามากมายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง อาทิเช่น แหล่งและวิธีการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร รวมทั้งลักษณะของข้อมูลที่มี (เช่นเป็นแบบ fully หรือ แบบ shortcut หรือแบบอื่น ๆ) ประเด็นเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงอย่างไร (Banerjee and Others, 2011; Ryan, 2010; Bartels, 1996) การมีหรือไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ (Crowder-Meyer and Gadarian, 2020; McMurray, 2015; Matsusaka, 1995) การเลือกผู้สมัครเป็น rational choice หรือไม่ อะไรเป็นแรงจูงใจในการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเหตุใดจึงเลือกผู้สมัครคนนั้นคนนี้ (Lovernier and Barilla, 2006; Ebeid and Rodden, 2006) สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ซับซ้อนและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของคำถามง่ายๆว่า “ใคร Vote ให้ใคร?”

          ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2565 ของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีลักษณะทางประชากร สังคม และเศรษฐกิจแตกต่างกัน โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจตัวอย่าง (sample survey) ของนิด้าโพล ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะทำให้เราทราบว่า “ใคร Vote ให้ใคร?” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือผู้ที่ตั้งใจจะไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละคน เป็นประชาชนชาว กทม. กลุ่มใด มีอายุ เพศ การศึกษา รายได้ และอาชีพเป็นอย่างไร  คำตอบของคำถามนี้เป็นทั้งผลลัพธ์ปลายทางที่สะท้อนให้เห็นถึงผลของยุทธศาสตร์/กลยุทธ์และวิธีการหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการศึกษาในเชิงวิชาการในประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย     

References

ไทยโพสต์. 2022. “สรุปผลการเลือกตั้ง ‘ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม.’ อย่างไม่เป็นทางการ” สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.thaipost.net/hi-light/146948.

กรุงเทพธุรกิจ. 2022. “จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พ.ศ. 2565” สืบค้น 27 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1001230.

นิด้าโพล “22 พ.ค. 2565 คนกรุงเทพฯ เลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.” สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565 จาก https://nidapoll.nida.ac.th/ survey_detail?survey_id=573

Banerjee, Abhijit V., Selvan Kumar, Rohini Pande and Felix Su. 2011. “Do Informed Voters Make Better Choices? Experimental Evidence from Urban India.” Unpublished manuscript.

Bartels, Larry M. 1996. “Uninformed Votes: Information Effects in Presidential Elections,” American Journal of Political Science. 40(1): 194-230.

Crowder-Meyer, Melody, Shana K. Gadarian and Jessica Trounstine. 2020. “Voting Can Be Hard, Information Helps.” Urban Affairs Review. 56(1): 124-153.

Ebeid, Michael and Jonathan Rodden. 2006. “Economic Geography and Economic Voting: Evidence from the US States.” British Journal of Political science. 36: 527-547.

Levernier, William and Anthony G. Barilla. 2006. “The Effect of Regional, Demographics, and Economic Characteristics on County-Level Voting Patterns in 2000 Presidential Election.” The Review of Regional Studies. 36(3): 427-447.

Matsusaka, John G. 1995. “Explaining voter turnout patterns: An information theory.” Public Choice. 84: 91-117.

McMurray, Joseph. 2015. “The paradox of information and voter turnout.” Public Choice. 165: 13-23.

Ryan, John B. 2010. “The Effects of Network Expertise and Biases on Vote Choice.” Political Communication. 27(1): 44-58.

Wolfinger, Raymond E. and Stephen J. Rosenstone. 1980. Who Votes? New Haven: Yale University Press.

Downloads

Published

2022-06-16

How to Cite

ศิริพานิช พ. ., & ธีรวรรณวิวัฒน์ เ. . (2022). บทความรับเชิญ: ใคร Vote ให้ ใคร? ศึกชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2565. Journal of Applied Statistics and Information Technology, 7(1), 1–11. retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/246806