ใคร Vote ให้พรรคไหนในกรุงเทพมหานคร: การเลือกตั้ง ส.ส. 14 พฤษภาคม 2566

Authors

  • Pachitjanut Siripanich Graduate School of Applied Statistics (GSAS) National Institute of Development Administration (NIDA)
  • Duanpen Teerawanwiwat Graduate School of Applied Statistics (GSAS) National Institute of Development Administration (NIDA)

Abstract

            การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 27 ประกอบด้วย ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ทั่วประเทศมีจำนวน52,241,808 คน (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อ้างถึงใน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2566) การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นการเลือกตั้งระดับประเทศที่มีความน่าสนใจทั้งในด้านพรรคการเมืองที่เสนอตัวเข้ามาสมัครรับการเลือกตั้ง มีพรรคขนาดใหญ่ ๆ หลายพรรคมากขึ้นที่นับเป็นแกนนำและน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อมองในมุมหนึ่งเหมือนมีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนแต่ในอีกมุมหนึ่งก็อาจมีความร่วมมือกันบางอย่าง ในด้านการหาเสียงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีการดำเนินการผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเข้มข้น เป็นเครือข่ายที่แน่นหนา กว้างขวาง สามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงประเด็น เช่น https://election66.move forwardparty.org/policy  มีการนำเสนอนโยบายที่มากมายและหลากหลาย นอกจากนี้ การเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ยังดูเหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับเสรีนิยม (ผู้จัดการออนไลน์, 2566, a; b; ศรุต อดิการิ, 2566) และระหว่างคนในช่วงวัย (Generation) ต่าง ๆ ดังเห็นได้จากการนำเสนอในสื่อต่าง ๆ ดังตัวอย่างในภาพที่ 1

ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญและน่าสนใจศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเนื่องจากคะแนนเสียงเหล่านั้นเป็นตัวตัดสินผลแพ้ชนะ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งว่า “Vote” ให้ใครหรือให้พรรคใดไม่เปิดเผย การทำ Exit Poll ในประเทศไทยก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสถิติที่ควรจะเป็นด้วยเหตุผลของกฎเกณฑ์ที่จะทำให้มีความโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรมสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องศึกษาจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมก่อนการเลือกตั้ง (เปิดเผยต่อสาธารณะหลังเวลา 17.00 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)

            จากบทความเรื่อง “ใคร Vote ให้ใคร? ศึกชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2565” โดย พาชิตชนัต และ เดือนเพ็ญ (2565) พบว่าการมีนโยบายที่มากมายและครอบคลุมแทบทุกเรื่อง รวมทั้งมีระยะเวลาเผยแพร่นโยบายให้ประชาชนได้รับทราบเร็วและกว้างขวางเป็นผลดีแก่ผู้สมัคร สอดคล้องกับผลการทดลองของ Banerjee, et. al. (2011) นอกจากนี้ยังพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครเองก็มีผลต่อการตัดสินใจลงหรือไม่ลงคะแนนเสียงให้ เหมือนกับผลการศึกษาของนักวิจัยหลาย ๆ คน เช่น Crowder-Meyer and Gadarian (2020) ในอีกด้านหนึ่ง คุณลักษณะของผู้ไปใช้สิทธิ์ ได้แก่ อาชีพ ระดับการศึกษา และช่วงวัย ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร/พรรคด้วย ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ Wolfinger and Rosenstone, (1980) จึงเกิดคำถามการวิจัยว่าประเด็นเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงอย่างไร

            กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่การแข่งขันที่เข้มข้น มีจำนวนเขตเลือกตั้งมากถึง 33 เขตซึ่งนับว่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ และมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวน 4,479,155 คน (กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย อ้างถึงใน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2566) คิดเป็นร้อยละ 8.57 ของทั้งประเทศ การศึกษาผลการเลือกตั้ง ส.ส. ใน กทม. ครั้งนี้แตกต่างจากการศึกษาเรื่อง ใคร Vote ให้ใคร? ข้างต้น ในส่วนที่เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองมากกว่าบุคคล เห็นได้จากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายคนและหลายเขตเลือกตั้งเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ที่ประชาชนทั่วไปแทบไม่รู้จัก รวมทั้งมีพรรคการเมืองใหม่ ๆ เสนอตัวเข้ามามากขึ้นด้วย รวมทั้งการจัดตั้งรัฐบาลในระบบการปกครองของประเทศไทยถือความเห็นของพรรคเป็นหลักมากกว่าตัวบุคคล การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร 2566 ที่มีลักษณะทั่วไปแตกต่างกัน ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะทำให้เราทราบว่า “ใคร Vote ให้พรรคไหนในกรุงเทพมหานคร” โดยคำว่า “ใคร” หมายถึงผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งชาย-หญิง ในช่วงวัย ระดับการศึกษา และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ คำตอบของคำถามนี้เป็นแนวทางให้เห็นนโยบายและกลยุทธ์/วิธีหาเสียงของพรรคการเมืองที่เข้าถึงและโดนใจประชาชน รวมทั้งฉายภาพความคิดและความต้องการของประชาชนต่ออนาคตของสังคมและประเทศไทย

References

ไทยรัฐออนไลน์ (2566). “เลือกตั้ง 2566 เจเนอเรชันและสถิติที่น่าสนใจ” เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 20 มิถุนายน 2566 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2693695.

นิด้าโพล (2566). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง “ทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ส. กทม.” เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566 จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail? survey_id=632.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2566). “เปิดตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566 ทั่วประเทศ 52 ล้านคน เจน X+Y มากสุด” เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://www.prachachat.net/ video/news1287958.

พาชิตชนัต และ เดือนเพ็ญ (2565). “ใคร Vote ให้ใคร? ศึกชิงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2565.” Journal of Applied Statistics and Information Technology, Vol. 7 No. 1 (January – June 2022).

โพสต์ทูเดย์ (2566). “เข้าใจความต่างคน 4 เจเนอเรชั่น ทลายช่องว่างเพื่อการทำงานที่แฮปปี้” เผยแพร่ 29 เมษายน 2562. สืบค้น 29 มิถุนายน 2566 จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/587633.

พีพีทีวีออนไลน์ (2566). “ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 : ก้าวไกลกวาดส.ส.ในกทม. 32 เขต เพื่อไทย 1 เขต” เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 30 มิถุนายน 2566 จาก https://www.pptvhd36. com/news/การเมือง/196461#&gid=null&pid=2.

มติชนออนไลน์ (2566), a. “เจาะเกมเลือกตั้ง 2566 : ก้าวไกล-รทสช.เปิดศึกสุดโต่งสงครามเสรีนิยม-อนุรักษ์นิยม” เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://mgronline.com/ politics/ detail/9660000044411.

มติชนออนไลน์ (2566), b. “เลือกตั้ง 66 “สองลุง vs สองเด็ก” กับ รถด่วนขบวนสุดท้ายของฝ่ายอนุรักษ์นิยม” เผยแพร่ 29 เมษายน 2566. สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://mgronline.com/online section/detail/9660000039632.

รายงานผลการนับคะแนน (2566). สืบค้น 20 มิถุนายน 2566 จาก https://drive.google.com/drive/ folders/1OZxp24-OjAXG0HYioy1xRnirqwgLPi2H.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2566). “รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ. 2566 อย่างไม่เป็นทางการ.” สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://official.ectreport.com/by-province.

ศรุต อดิการิ (2566). “#เลือกตั้ง2566 ศึกขั้วเดียวกัน เสรีนิยมแข่งกัน อนุรักษนิยมสู้กัน” THE STANDARD สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://thestandard.co/election-2566-same-pole-battle.

Banerjee, A.V., Kumar, S., Pande, R., and Su, F. (2011). “Do Informed Voters Make Better Choices? Experimental Evidence from Urban India.” Retrieved from https://epod.cid. harvard.edu/sites/default/files/2018-02/do_informed_voters_make_better_choices_exp erimental_evidence_from_urban_india.pdf.

Christensen, S. (2023). Commentary: Thailand’s Election of the Century. Brookongs. Retrieved from https://www.brookings.edu/articles/thailands-election-of-the-century/

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques, 3rd edition. John Wiley & Sons. Retrieved from https://ia601409.us.archive.org/35/items/Cochran1977SamplingTechniques_201703/Cochran_1977_Sampling%20Techniques.pdf.

Crowder-Meyer, M., Gadarian, S.K. and Trounstine.J. 2020. “Voting Can Be Hard, Information Helps.” Urban Affairs Review. 56(1): 124-153. Retrieved from https://journals.sagepub. com/doi/10.1177/1078087419831074.

Wolfinger, Raymond E. and Stephen J. Rosenstone. 1980. Who Votes? New Haven: Yale University Press.

Downloads

Published

2023-07-27

How to Cite

Siripanich, P. ., & Teerawanwiwat, D. . (2023). ใคร Vote ให้พรรคไหนในกรุงเทพมหานคร: การเลือกตั้ง ส.ส. 14 พฤษภาคม 2566. Journal of Applied Statistics and Information Technology, 8(2), 1–24. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/250371