ระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัวที่ใช้วิธีการนำเสนอและวิธีการสนับสนุนนำทางในการสอนบนเว็บต่อการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีแบบการคิดต่างกัน (Adaptive Hypermedia Systems Using Adaptive Presentation and Adaptive Navigation Supp
Keywords:
Adaptive hypermedia Systems, Web-based instruction, Reasoning thinkingAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้ระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัวที่มีแบบการคิดของนักเรียนต่อการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการนำเสนอแบบปรับตัวและวิธีการสนับสนุนนำทางแบบปรับตัว การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพบริบทและการสังเคราะห์ร่างแบบจำลองระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 16 คนและ 120 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบอย่างง่าย ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 330 คนและ32 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบอย่างง่าย ระยะที่ 3 การประเมินระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 315 คน และ 88 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการวิจัยระยะที่ 1 ด้านบทบาทผู้สอนต่อสภาพการเรียนการสอนปัจจุบันภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.82 แสดงถึงระดับความคิดเห็นว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง และด้านบทบาทผู้เรียนต่อสภาพการเรียนการสอนปัจจุบัน ภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.76 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.80 ระดับความคิดเห็นว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง ระยะที่ 2 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้านเนื้อหาโดยค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.57 ด้านเนื้อหาของระบบ อยู่ในระดับ ดี ระยะที่ 3 นักเรียนที่เรียนด้วยระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว วิธีที่ 1 คือ วิธีการนำเสนอแบบปรับตัว (Adaptive Presentation) กลุ่มที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) ค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนความสามารถด้านทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพา (FD) ( = 22.63 > = 16.52) และนักเรียนที่เรียนด้วยระบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว วิธีที่ 2 คือ วิธีการสนับสนุนนำทางแบบปรับตัว (Adaptive Navigation Support) กลุ่มที่มีแบบการคิดแบบพึ่งพา(FD) ค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนความสามารถด้านทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่มีแบบการคิดแบบอิสระ (FI) ( = 22.64 > = 21.05) และผลของนักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกันมีคะแนนความสามารถด้านทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Additional Files
Published
2014-10-28
Issue
Section
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์