การศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนและวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคลากรดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล (The Comparison of Procedure to Promote Supporting Staff

Authors

  • สันติ คู่กระสังข์ Khon Kaen University
  • ธีระ ฤทธิรอด Khon Kaen University
  • กิตติมา จันทรสม Khon Kaen University
  • อัญชลี หนักแน่น Khon Kaen University
  • บุญคงศิลป์ วานมนตรี Khon Kaen University

Keywords:

Procedure to promote, Profession level, Expert level, Senior expert level

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนและวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคลากรดำรงตำแน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ตลอดจนศึกษาสภาพการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่ง ในมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 72 ราย แบ่งเป็น มหาวิทยาลัยละ 4 กลุ่มๆ ละ 6 ราย ดังนี้ 1) กลุ่มผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่สามารถขอกำหนดตำแหน่ง 2) กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน 3) กลุ่มผู้ที่เคยขอกำหนดตำแหน่งแต่ไม่ผ่านการพิจารณา 4) กลุ่มผู้บังคับบัญชาที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาดำรงตำแหน่ง ผลการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบขั้นตอนและวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคลากรดำรงตำแหน่ง ของทั้ง 3 มหาวิทยาลัย เป็นดังนี้ 1) การกำหนดกรอบตำแหน่ง มีความสอดคล้องตรงกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น 2) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งด้านวุฒิการศึกษาและระยะเวลามีความสอดคล้องกัน ส่วนด้านอัตราเงินเดือนมีความแตกต่างกัน 3) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวนผลงานมีความสอดคล้องกันตรงกัน แต่ประเภทผลงานมีความแตกต่างกัน 4) การเผยแพร่ผลงานมีความแตกต่างกัน 5) การใช้วิชาชีพบริการสังคม มีความแตกต่างกันทั้ง 3 มหาวิทยาลัย 6) วิธีการพิจารณาตัดสินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่งมีความแตกต่างกัน 7) ภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้ง 3 มหาวิทยาลัย มีความแตกต่างกัน 8) การลงโทษมีความสอดคล้องกัน และการอุทธรณ์ มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากร พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 100 เห็นว่ามีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว แต่มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขทั้ง 8 ประเด็น ส่วนแนวทางการปรับปรุง มีดังนี้ 1) การเผยแพร่ผลงาน ควรเพิ่มเติมการเผยแพร่ผลงานในห้องสมุด 2) วิธีการให้คะแนน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งได้นำเสนอผลงาน 3) ภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ ควรมีการลดชิ้นงานและมุ่งเน้นด้านคุณภาพแทน

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-29

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์