วิทยาการระบาดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 – 2561

ผู้แต่ง

  • Saranratch Chanprakhon นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Lertchai Charerntanyarak รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วิทยาการระบาด, ผู้เสียชีวิตโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางวิทยาการระบาดของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 - 2561โดยใช้ข้อมูลจากรายงาน 506, 507 และโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายตัวแปรทางวิทยาการระบาด พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย อัตราตายเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย กลุ่มอายุ 5- 9 ปี มีอัตราตายสูงที่สุด อาชีพที่มีอัตราตายสูงที่สุด คือ นักเรียน เดือนกรกฎาคมซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝน พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุด โดยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัย ในช่วง 4 – 6 วันหลังจากเริ่มป่วย (ร้อยละ 58.9) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึงเสียชีวิต ≤ 7 วัน (ร้อยละ 53.42) และ ≥ 7 วัน (ร้อยละ 46.58) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคกลาง และภาคใต้ โดยพบโรคไข้เลือดออกช็อก (71.69%) โรคไข้เลือดออก (23.29%) และไข้เดงกี (5.02%) ส่วนใหญ่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ และพบซีโรทัยป์ DENV2 มากที่สุด ร้อยละ 37.39 รองลงมา คือ DENV4, DENV1 และ DENV3 และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ด้วยเหตุนี้ การป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยงที่พบมากในเด็กนักเรียน ในช่วงก่อนการระบาดในฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม)

References

Bureau of Vector Borne Disease. Handbook Dengue infection and Dengue hemorrhagic fever in medical and public health. Bangkok: Aksorn graphic and design; 2015.

World Health Organization and the Special Programme for Research and Training in Tropical Diseases (TDR). Dengue: guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control. New edition. Geneva: WHO; 2009.

World Health Organization Office for South-East Asia. Comprehensive guidelines for prevention and control of dengue and dengue hemorrhagic fever. Rev. and expanded Ed. New Delhi, India; 2011.

Bureau of Epidemiology. Disease report in the surveillance system 506 DHF Total [Internet]. 2019. [cited 2019 August 12]. from http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=262766. Thai.

World Health Organization Western Pacific Region. Dengue Situation Update Number 579. WHO, Geneva. 2019.

Bureau of Vector Borne Disease. Strategic Plan for Prevention and Control of Aedes Borne Disease 2017 -2021. Cluster CD Report. Deparrtment of Disease Control; 2018.

Kaewnokkhao Watcharee, Hinjoy Saowapak and Areechokchai Darin. The study of risk factors of deaths among Dengue Shock Syndrome in 2003-2013, Thailand. WESR. 2015; 46 (9): 129-136. Thai.

Bhatia R, Dash P A, Sunyoto T. Changing epidemiology of dengue in South-East Asia. WHO South-East Asia Journal of Public Health. 2013; 2(1): 23-27.

Bureau of Risk communication and development of health behavior. Summary and analysis of news on 7 June 2013. [Internet]. 2013. [cited 2020 April 27]. from http://www.riskcomthai.org/2017/detail.php/?id18349&m=news&gid=1-001-005.

Watcharee K, Darin A. Review of Dengue Fever patients from the epidemiological surveillance report in 2013. WESR 2013; 44 (14): 209-213. Thai.

Anders LK, Nguyet MN, Chau VN, Hung TN, Thuy TT, Lien BL, et al. Epidemiological Factors Associated with Dengue Shock Syndrome and Mortality in Hospitalized Dengue Patients in Ho Chi Minh City, Vietnam. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 2011: 84 (1): 127-134.

Bureau of Vector Borne Disease. Dengue forecasting report 2019. Bangkok; 2019: (9).

Bureau of Epidemiology. Disease surveillance report summary in 2017. Bangkok; 2018.

Thainews.com. Dengue Hemorrhagic Fever. [Internet]. 2016. [cited 2020 April 25]. from http://www.thainews.com.

Surakiat A. Dengue Hemorrhagic fever. [Internet]. [cited 2020 April 24]. from http://www.doctor.or.th/article/ detail/1647. 2003. Thai.

Department of Medical. Guidelines for the diagnosis and treatment of Dengue Fever in the regional/ general hospital level. 1st ed. Bangkok. Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2005.

Alexander F, Quijan D, Waldman AE. Factors Associated with Dengue Mortality in Latin America and the Caribbean, 1995–2009: An Ecological Study. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 2012; 86(2): 328-334.

Thein TL, Leo YS, Fisher DA, Low JG, Oh ML, et al. Risk Factors for Fatality among Confirmed Adult Dengue Inpatients in Singapore: A Matched Case-Control Study. Plos One, 2013; 8 (11).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย