ประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมผ้ารีแอคทีฟด้วยผงเซลลูโลสจากฟางข้าว

ผู้แต่ง

  • Jiralak Anukul นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Kanita Tungkananuruk รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Noppawan Semvimol อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผงเซลลูโลส , ฟางข้าว , สีย้อมรีแอคทีฟ , การกำจัดสีย้อม

บทคัดย่อ

ในการศึกษานี้ใช้ผงเซลลูโลสจากฟางข้าวที่ผ่านการฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 เพื่อกำจัดสีย้อมแอคทีฟทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ Blue G, Red SBN และ Yellow RN โดยศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับ ได้แก่ ปริมาณตัวดูดซับ ความเข้มข้นของสารละลายสีย้อมรีแอคทีฟทั้ง 3 ชนิด ระยะเวลาสัมผัส และการดูดซับสารละลายสีย้อมผสม นอกจากนั้นทำการศึกษาไอโซเทอร์มและจลนศาสตร์การดูดซับ จากการศึกษาพบว่าปริมาณผงเซลลูโลสจากฟางข้าว 2.5 กรัม ในระยะเวลาสัมผัส 60 นาที ให้ความสามารถในดูดซับสีย้อมรีแอคทีฟทั้ง 3 ชนิด ร้อยละ 91.37±0.20, 92.27±0.00 และ 97.20±0.73 ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นของสารละลายสีย้อมรีแอคทีฟทั้ง 3 ชนิด 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ในการดูดซับสารสะลายสีย้อมผสมความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าสีหลังจากกระบวนการดูดซับมีค่าต่ำกว่า 300 ADMI (ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม) จลนศาสตร์การดูดซับสีย้อมรีแอคทีฟทั้ง 3 ชนิดของผงเซลลูโลสจากฟางข้าวสอดคล้องกับสมการ Pseudo-Second Order และกลไกการดูดซับสอดคล้องกับไอโซเทอร์มการดูดซับแบบแลงเมียร์ ดังนั้นผงเซลลูโลสจากฟางข้าวจึงสามารถใช้เป็นวัสดุดูดซับทางชีวภาพซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับการกำจัดสีย้อมรีแอคทีฟในน้ำเสียจากสีย้อมผ้าพื้นเมือง

References

Announcement of the Ministry of Industry Subject: Determination of standard for control of factory effluent discharge [Internet] 2017 [updated 2017 Jun 7; cited 2020 Apr 12] Available from: https://www.diw.go.th/hawk/news/11.PDF

Sukadjasakul A. Dyea Removal from Doi Tung Development Project Textile Wastewater Utilizing Adsorbent from Water Hyacinth and Cyperus corymbosus Rottb [MSc thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2012. Thai.

Lellis B, Fávaro-Polonio C, Pamphile J, Polonio J. Effects of textile dyes on health and the environment and bioremediation potential of living organisms. Biotechnology Research and Innovation. 2019; 50: 1-16. Brazil.

Ruparseart P. The Utilization of Water Hyacinth Stem Bioadsorbent as Growing Material in Constructed Wetland Systems for Dyestuff Removal. [MSc thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2015. Thai.

Chaijumnong U, Tungkananuruk N, Tungkananuruk K. Treatment of Reactive Dyes in Wastewater from Native Textile House-Hold Factory by Using Constructed Filter Tank with Lignite Fly Ash Adsorbent. Thai Environmental Engineering Journal. 2017; 31(1): 45-57. Thai.

Chooaksorn W. Color Removal Technology in Industrial Wastewater. Burapha Sci. J. 2012; 17(1): 181-191. Thai.

Pimpa W, Pimpa C. Synthesis and utilization of the rice straw based adsorbents for wastewater treatment. Bangkok: Science and Technology Infrastructure Databank; 2015. Thai.

Sirianusornsak W, Sinbuathong N. Chemical pretreatment of rice straw for a raw material in the production of renewable energy. In: Proceedings of 51st Kasetsart University Annual Conference: Science, Natural Resources and Environment; 2013 Feb 5-7; Bangkok. The Thailand Research Fund, Bangkok (Thailand).

Maharatchamongkol K. The silane treatment on the surface of cellulose fiber from rice straw as a reinforced material in epoxy resin [MSc thesis]. Bangkok: Silpakorn University; 2015. Thai.

Sodsai K. Dyes Removal from Doi Tung Development Project Textile Wastewater by Hevea brasiliensis and Hevea brasiliensis Charcoal [MSc thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2012. Thai.

Lin L, Zhang Y, Xiu P, Xing C, Li J, Ju M. Adsorption Removal of Dyes from Single and Binary Solutions Using a Cellulose-based Bioadsorbent. ACS Sustainable Chemistry & Engineering. 2015; 3: 432-442. China.

Tungkananuruk N, Tungkananuruk K. Principle of chemical water quality analysis. 1th ed. Bangkok: KASETSART UNIVERSITY PRESS; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย