ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อในทันตบุคลากร

ผู้แต่ง

  • Chalita Chorobchoei นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Sunisa Chaiklieng รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Pornnapa Suggaravetsiri ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตบุคลากร, เมตริกความเสี่ยง, การปวดคอ ไหล่ หลังส่วนบน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงสูงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในทันตบุคลากร จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ทันตบุคลากรที่ประจำอยู่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดเพชรบุรี ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 118 คน โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณของร่างกายจากการทำงาน การสังเกตท่าทางการทำงานด้วยการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้วิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) และประเมินความเสี่ยงต่อการปวดคอ การปวดไหล่ และการปวดหลังส่วนบน โดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงโดยใช้สถิติพหุถดถอยลอจีสติก แสดงค่า Adjusted odds ratio (ORAdj.) ช่วงความเชื่อมั่น 95%CI ที่ระดับนัยสำคัญ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงสูงต่อ MSDs ที่สูงสุด 3 ตำแหน่งแรก คือ ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลังส่วนบน ความเครียดสูงจากการทำงาน พบร้อยละ 41.53 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส (ORAdj. = 2.87, 95%CI = 1.04-7.89) ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (ORAdj. = 4.49, 95%CI = 1.73-11.63) ขนาดพื้นที่สำหรับนั่งทำงานในคลินิกทันตกรรม (ORAdj. = 9.00, 95%CI = 1.25-64.96) และความเครียดจากการทำงาน (ORAdj. = 2.69, 95%CI = 1.10-6.75) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดไหล่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ท่ายืนหลังงอในการให้บริการทันตกรรม (ORAdj. = 2.85, 95%CI = 1.21-6.70) และความเครียดจากการทำงาน (ORAdj. = 2.94, 95%CI = 1.24-6.93) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนบน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ โรคประจำตัว (ORAdj. = 4.44, 95%CI = 1.11-17.73) ท่ายืนหลังงอในการให้บริการทันตกรรม (ORAdj. = 3.97, 95%CI = 1.33-11.81) และสิ่งคุกคามในการทำงานด้านแสงสว่าง (ORAdj. = 8.85, 95%CI = 2.52-31.12) โดยปัจจัยเสี่ยงร่วมของการปวดคอและไหล่ คือ ความเครียดจากการทำงาน ส่วนปัจจัยเสี่ยงร่วมของการปวดไหล่และหลังส่วนบน คือ ท่ายืนหลังงอในการให้บริการทันตกรรม ตามลำดับ จากปัจจัยที่พบในการศึกษานี้ ควรจัดการส่งเสริมให้ทันตบุคลากรมีความรู้ด้านท่าทางการทำงานที่เหมาะสม การจัดสรรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ จัดหน่วยที่ทำงานให้เหมาะสมขณะปฏิบัติงาน และการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงและความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อต่อไปได้

References

Bureau of Occupational and Environmental Diseases. Guidelines for providing occupational health services to workers in the community in terms of ergonomics [Internet]. Nonthaburi: Bureau of occupational and environmental diseases; 2017 [cited 2020 Feb 2]. Available from: https://ddc. moph.go.th/uploads/files/5b9b2251268a2835083c9230468c070f.pdf. (in Thai).

Division of Occupational and Environmental Diseases. Report the disease situation and Occupational and environmental health risks [Internet]. Nonthaburi: Division of Occupational and Environmental Diseases; 2018 [cited 2020 Feb 3]. Available from: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf. (in Thai).

Dental Council. Statistics of the Dental Council [Internet]. Nonthaburi: Division of Occupational and Environmental Diseases; 2017 [cited 2020 Feb 3]. Available from: http://www.dentalcouncil.or.th/th/statistic.php. (in Thai).

Wikipedia. Dentist [Internet]. [cited 2020 Feb 3]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/dentist. (in Thai).

Sermsuti-Anuwat N, Sithisarankul P. Work-Related Musculoskeletal Disorders Among Dentists. J Dent Assoc Thai 2016; 67(2):72-80. (in Thai).

Chaiklieng S, Poochada W. Work stress and neck shoulder back pain among dental personnel of government hospitals, Khon Kaen province. J Med Tech Phy Ther 2016; 28(3), 287-99. (in Thai).

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P. Ergonomic risk and neck shoulder back pain among dental Professionals. Procedia manufacturing 2015; 3: 4900-05. (in Thai).

Jirawatkul A. Biostatistics. 3rd ed. Khon Kaen: Klungnana Vitthaya; 2008. (in Thai).

Chaiklieng S. Work physiology and ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house; 2014. (in Thai).

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PloS ONE 2019; 14(12): e0224980. doi: 10.1371/jounal. pone. 0224980.

McAtamney L, Corlett E.N. RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders Appl Ergonomics 1993; 24: 91-9. 14.

Chorobchoei C, Suggaravetsiri P, Chaiklieng S. Ergonomics risk and work-related musculoskeletal disorders in dental personal. Thai Journal of Ergonomics 2021; 4:20-27 (in Thai).

Jahanimoghadam F, Horri A, Hasheminejad N, Hashemi NN, Baneshi MR. Ergonomic Evaluation of Dental Professionals as Determined by Rapid Entire Body Assessment Method in 2014. Journal of Dentistry, Shiraz University of Medical Sciences 2018; 19(2): 155-158.

Chaiklieng S, Nithithamthada R. Factors Associated with Neck, Shoulder, and Back Pain among Dental Personnel of Government Hospitals in Khon Kaen Province. Journal of Public Health 2016; 46(1), 42-56. (in Thai).

Feng B, Liang Q, Wang Y, Andersen LL, Szeto G. Prevalence of work-related musculoskeletal symptoms of the neck and upper extremity among dentists in China. BMJ Open 2014; 4: e006451. doi:10.1136/bmjopen-2014-006451.

Barghout NH, Al-Habashneh R, AL-Omiri MK. Risk Factors and Prevalence of Musculoskeletal Disorders among Jordanian Dentists. Clinical and investigative Medicine 2011; 39(6), S192-S196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย