การตรวจวัดปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราสดโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดชนิดเส้นใยแก้วนำแสง

Main Article Content

ปิยชาติ มรกตคันโธ
เขมฤทัย ถามะพัฒน์

บทคัดย่อ

คุณภาพของน้ำยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพาราสามารถบ่งบอกด้วยปริมาณเนื้อยางแห้ง (dry rubber content หรือ DRC) ซึ่งแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเนื้อยางแห้งต่อน้ำหนักของน้ำยางพารา โดยวิธีการที่นิยมใช้ในการตรวจวัดค่า DRC ณ จุดซื้อ - ขายน้ำยางพารา คือ การวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อยางแห้งโดยใช้วิธีการใช้ไมโครเวฟอบแห้ง ซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีความแม่นยำน้อยกว่าวิธีการอบแห้งตามวิธีมาตรฐานมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้คิดค้นวิธีการตรวจวัดวิธีใหม่ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยหลักการวัดความขุ่นด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดชนิดเส้นใยแก้วนำแสง โดยใช้โฟโตไดโอดแสงสีแดงความยาวคลื่น 660 nm เป็นแหล่งกำเนิดแสง และนำปลายด้านหนึ่งของเส้นใยแก้วนำแสงชนิดพลาสติกมาเชื่อมต่อกับโฟโตไดโอด ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของเส้นใยแก้วนำแสงจะถูกปอกแคลดดิ้งออกความยาวประมาณ 1 cm แล้วนำไปจุ่มในตัวอย่างน้ำยางสด ณ ตำแหน่งกึ่งกลางของระดับน้ำยางที่บรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุสารตัวอย่าง เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสงตกกระทบกับอนุภาคยาง แสงจะกระเจิงเข้าสู่เส้นใยแก้วนำแสงอีกเส้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกับตัวรับแสง ความเข้มแสงที่ตรวจวัดได้จะมีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นกับค่า DRC ทั้งนี้เครื่องตรวจวัดปริมาณเนื้อยางแห้งแบบพกพาที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 3.4% สามารถนำไปใช้ตรวจวัดค่า DRC ของน้ำยางพาราสด ณ จุดซื้อขายจริงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). สถิติยางประเทศไทย THAILAND RUBBER STATISTICS. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.doa.go.th/rc/suratthani/ wp-content/uploads/2019/05/STATISTICS-2563-1.pdf.

การยางแห่งประเทศไทย. (2553). การหาปริมาณเนื้อยางแห้ง (Dry Rubber Content, DRC). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561, จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5754.

การยางแห่งประเทศไทย. (2562). ความเคลื่อนไหวราคายางชนิดต่างๆ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.raot.co.th/rubber2012/rubberprice_yr.php.

จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์. (2553). เทคโนโลยียางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท เทคโนบิซ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด.

ไชยยะ คงมณี และคณะ. (2560). โครงการรับรู้ความเสี่ยงและกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงของเกษตรกรสวน ยางในภาคใต้ ประเทศไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ฐานเศรษฐกิจ. (7 กรกฎาคม 2563). ชาวสวนยางเคว้ง ชี้รัฐแก้ปัญหาหลงทาง. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/441127.

วราภรณ์ ขจรไชยกุล. (2549). ยางธรรมชาติ การผลิตและการใช้งาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีโน ดีไซน์.

Aiyarak, P. and Sunheem, P. (2015). Design and Implementation of Microwave Attenuation Measurements to Estimate the Dry Rubber Content of Natural Rubber Latex. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 37(6), 713-718.

Ballerstadt, R.D., Evans, C., Pillai, A.P. and Gowda, A. (2014). A Label-Free Fiber-Optic Turbidity Affinity Sensor (TAS) for Continuous Glucose Monitoring. Biosensors and Bioelectronics, 61(C), 280-284.

Chong, C.S. and Colbow, K. (1976). Light Scattering and Turbidity Measurement on Lipid Vesicles. Biochimica et Biophysica Acta, 436(2), 286-282.

George, N.A., Akhila, P. and Vijayan, M. (2013). A Simple Optical Sensor for the Measurement of Dry Rubber Content in Natural Rubber Latex. Nondestructive Testing and Evaluation, 28(4), 313-320.

Inagaki, T., Nozawa, D., Shimomura, Y. and Tsuchikawa, S. (2016). Three-Fibre-Based Diffuse reflectance Spectroscopy for Estimation of Total Solid Content in Natural Rubber Latex. Journal of Near Infrared Spectroscopy. 24, 327-335.

International Standard. (2014). Latex, Rubber - Determination of Total Solids Content. (7th ed.). Geneva: ISO Copyright Office.

Julrat, S., Chongcheawchamnan, M., Khaorapapong, T., Patarapiboolchai, O., Kririksh, M. and Robertson, D. (2012). Single-Frequency-Based Dry Rubber Content Determination Technique for In-Field Measurement Application. IEEE Sensor Journal. 12(10), 3019-3030.

Omar, A.B.F. and MatJafri, M.Z.B. (2009). Turbidimeter Design and Analysis: A Review on Optical Fiber Sensors for the Measurement of Water Turbidity. Sensors, 37(10), 8311-8335.

Sari, I. R. J., Fathurrahman, J. A., Crisnaningtyas, F. and Romadhon, S. (2018). FWHM Dimensional Analysis from Scattered Light Intensity Profile for Dry Rubber Content Determination in Natural Rubber. Jurnal Riset Teknologi Pencegahan Pencemaran Industri. 9(1), 9-14.

Sowcharoensuk, C. (2019). Thailand Industry Outlook 2019-21: Natural Rubber Processing. Retrieved September 10, 2020, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/2f5ad30c-1aee-439d-a443-0065b8d98a9a/ IO_Rubber_190617_EN_EX.aspx.