การศึกษาวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้ากล่องลูกฟูกของบริษัท P.S.K. กรณีศึกษา : พื้นที่เช่าคลังเก็บสินค้ากล่องลูกฟูกระหว่างเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา และอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
พงศภัค อมรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งคลังเก็บสินค้ากล่องลูกฟูก แบบส่งผ่านที่มีการซื้อขายเพื่อกระจายส่งในระหว่างเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา และอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ต่ำที่สุด และเป็นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยได้มุ่งพิจารณาการไหลเวียนสินค้าของกล่องลูกฟูกที่ส่งให้ผู้ประกอบการ ที่ได้ขนส่งมาจากบริษัท P.S.K. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างปัจจัยเชิงปริมาณ และปัจจัยเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งตามแนวคิด การคำนวณทำเลที่ตั้งจากทฤษฎี Center of Gravity และ Exact Center of Gravity Approach เก็บข้อมูลรอบแรกสำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็น 80% ของลูกค้า ในพื้นที่โดยประมาณ จำนวน 10 ราย และการเก็บข้อมูลลำดับถัดไปเป็นกลุ่มตัวอย่างจากลูกค้า 10 ราย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงคุณภาพทั้ง 7 ด้าน เช่น ด้านแหล่งผลิต แหล่งผู้บริโภค แหล่งแรงงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลวิจัยพบว่า ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ในบริเวณเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา และอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเหมาะเปิดเป็นศูนย์กระจายสินค้าส่งผ่านในบริเวณดังกล่าว สามารถลดต้นทุนการขนส่งจากเดิมได้ และเป็นตำแหน่งที่ที่อำนวยความสะดวก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการบริหารการศึกษา

Nonthaburi

References

กาญจนาวงษ์ สุมาลี. (2565). การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งกรณีศึกษา: ศูนย์กระจายสินค้าบริษัทชาย บะหมี่เก๊ยวจำกัด (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กุลบัณฑิต แสงดี, สุภาวดี สายสนิท & ปิยรัตน์ แต่เจริญ. (2559). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง คลังสินค้าแห่งใหม่กรณีศึกษาบริษัท RP สาขากรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 323-336.

จักรพรรดิ์ เชื้อนิล & บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. (2013). ตัวแบบโดยรวมในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งการกระจาย สินค้าและการลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(3), 675-686.

จักรพันธ์ ปลื้ม ภิรมย์ & วิชญุตร์ งามสะอาด. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ และหาทำเลที่ตั้งที่ เหมาะสมโครงการลงทุนศูนย์ กระจาย สินค้า อาหาร แช่ แข็ง กรณี ศึกษา บริษัท XYZ จำกัด. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, หน้า 1145-1156. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

จิราภรณ์ บุญยิ่ง & สุจิตรา จันทนา. (2563). กลยุทธ์การตลาดในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคใน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย,12(2), 461-472.

เจตธนะ ภัทรพงศ์มณี & ธนินท์ รัฐรัตนพงศ์ภิญโญ. (2566). การกำจัดความสูญเปล่าโดยใช้ลีนในการดำเนิน งานคลังสินค้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 163-176.

ชลธิรา จันทร์ศรีราษฎร์ & ปริญ วีระพงษ์. (2565). การวิเคราะห์สถานที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับเป็นสถานีบรรจุ และคัดแยกสินค้านำเข้าและส่งออกเพื่อเป็นการรองรับการเติบโตของการขนส่งท่าเรือระนอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 76-103.

ชวิศ บุญมี และคณะ. (2564). การวิเคราะห์และการออกแบบกิจกรรมโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าประมงในภาคเหนือประเทศไทย. วารสาร วิชาการวิศวกรรมศาสตร ม.อบ., 14(1), 14-29.

ณัฐปวีณ์ พิเคราะห์แน่ & ชนะ เยื่ยงกมลสิงห์. (2563). การลดต้นทุนและกิจกรรมการดำเนินงานใน คลังสินค้ากรณีศึกษาบริษัท Capital Brand OVS. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, หน้า 1168-1180. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฐภร เจริญชีวะกุล, แสงจันทร์ กันตะบุตร & พรวศิน ศิริสวัสดิ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุน

โลจิสติกส์ในโซ่อุปทานของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 10(1), 66-92.

ปฐมพงษ์ หอมศรี. (2564). การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นวิเคราะห์แบบฟัซซี่. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 253-270.

ประภาพรรณ เกษราพงศ์ & สิรางค์ กลั่นคำสอน. (2563). การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์บริการยางโดยใช้ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 31(1), 177-186.

ปราง ประเสริฐน้อยสังข์ & ชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2560). การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคใน ประเทศไทยโดยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงปริมาณร่วมกับปัจจัยเชิงคุณภาพด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 5(1), 60-70.

ภัทรวดี ประสมทรัพย์ & ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ. (2565). การ เลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าด้วย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงรถไฟลาว-จีน (บ่อเต็น–เวียงจันทน์): กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง XYZ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(3), 319-336.

ราวรรณ เนียมสกุล. (2564). การจัดสรรพื้นที่ตั้งลูกค้าที่เหมาะสมสำหรับศูนย์กระจายสินค้า: กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี,7(3), 41-52.

วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ &สิวนีย์ ปงลังกา. (2563). การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าและศูนย์กระจาย สินค้า: กรณีศึกษาบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นจำกัด. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 10-24.

วิภาดา สาครสถิตย์ & นพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2561). การกำหนดช่องทางการกระจายสินค้า ที่เหมาะสมกับการกระจายสินค้าทางกายภาพของธุรกิจเครื่องปรับอากาศกรณีศึกษาในปัจจุบัน. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, หน้า 35-46. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศิรวดี อรัญนารถ, นันท์พิพัฒน์ ธนาวริศวัฒนา & อาทิตย์ อภิโชติธนกุล. (2563). การขนส่งสินค้าภายในเมือง โดยการขนส่งทางถนนร่วมกับระบบรถไฟฟ้ารางเบา. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 14(2), 50-66.

Krusong, U. A. & Suthiwartnarueput, K. (2019). การปรับปรุงการกระจายสินค้าประเภทอะไหล่ยาน ยนต์จากประเทศผู้ผลิตไปยังตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้. Journal of Engineering, RMUTT, 17(2), 13-24.