ชุดทดลองสำหรับศึกษาสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผ่านการเลี้ยวเบนของแสง

Main Article Content

จิราพร อ่อนภักดี
เขมฤทัย ถามะพัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างชุดทดลองสำหรับตรวจสอบสมบัติเชิงกลของถุงพลาสติกผ่านการทดลองการเลี้ยวเบนของแสง โดยนำตัวอย่างถุงพลาสติกมาตัดให้มีขนาด 15 ซม. × 2.5 ซม. ตามวิธีการทดสอบมาตรฐาน ASTM D882 หลังจากนั้นจึงทำการยืดถุงพลาสติกด้วยน้ำหนักที่มีขนาดต่าง ๆ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นแรงดึง ระหว่างที่ถุงพลาสติกถูกยืดออกที่น้ำหนักค่าต่าง ๆ จะทำการบันทึกความยาวที่เปลี่ยนแปลงไปของถุงด้วยกล้องวิดีโอ ขณะเดียวกันก็ทำการถ่ายภาพรูปแบบการเลี้ยวเบนของแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร ผ่านถุงพลาสติกที่ถูกยืดออก หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมแทรคเกอร์ เพื่อนำข้อมูลไปเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดที่ได้จากการทดสอบแรงดึง ซึ่งสามารถนำไปใช้คำนวณหาค่ายังโมดูลัสของวัสดุตัวอย่างได้ โดยรูปแบบการเลี้ยวเบนของแสงจะสังเกตเห็นได้หลังจากเกินพิกัดการเปลี่ยนรูปแบบยืดหยุ่นหรือแบบคืนรูป เนื่องจากแรงดึงจะทำให้เกิดช่องว่างเล็ก ๆ หรือสลิตในแผ่นถุงพลาสติก ชุดการทดลองที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเลี้ยวเบนของแสงและสมบัติเชิงกลของวัสดุได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดชา สุขมา และคณะ. (2555). การพัฒนาเครื่องทดสอบแรงดึงขนาด 50,000 นิวตัน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, วันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2555, ณ ชะอำ เพชรบุรี.

Gomes L.R., et al. (2016). Simple apparatus for the measurement of mechanical properties of solids. The Physics Teacher, 49, 117.

Groff J R. (2012). Estimating the size of onion epidermal cells from diffraction patterns. Phys. Teach.

Jelena Milisavljevic, et al. (2012). Tensile testing for different types of polymers, researchgate.

Kerstin Schümann, et al. (2016). Conversion of engineering stresses to Cauchy stresses in tensile and compression tests of thermoplastic polymers. Current Directions in Biomedical Engineering, 2, 649 - 652.

Logunov M. A. and Orekhov N. D. (2018). Molecular dynamics study of cavitation in carbon nanotube reinforced polyethylene nanocomposite. Physics, 946, 1742-6596.

Mahardika Prasetya Aji, Arum Prabawani, Ita Rahmawati, Jenny Ayu Rahmawati, Aan Priyanto and Teguh Darsono, (2019). A diffracion graing from a plasic bag. Phys. Educ., 54, 7.

Takahiko Kawai , Shota Soeno , Shin-ichiKuroda , Shunsuke Koido , Tomoyuki Nemoto And Motonori Tamada , (2019) .Deformation induced void formation and growth in β nucleated isotactic polypropylene. Sciencedirect , 178. DOI:10.1016/j.polymer.2019.05.065

Todd Letcher, Behzad Rankouhi and Sina Javadpour.(2015).Experimental Study of Mechanical Properties of Additively Manufactured ABS Plastic as a Function of Layer Parameters. ASME 2015 Int. Mech. Eng.Cong. and Exp., V02AT02A018-V02AT02A018.

Yee A. F., Dongming Li and Xiaowei Li. (1998).The importance of constraint relief caused by rubber cavitation in the toughening of epoxy. Materials science, 28, 6392-6398.