การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เบาะรถยนต์อเนกประสงค์ ของบริษัท MCE จำกัด

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
เอกราช ยอดคำ
ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์
ปรีญา ศรีจันทร์
พิชิต ภาสบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือศึกษาวิธีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของบริษัท Motor Companion ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ โดยทำการเปรียบเทียบด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม หลักการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (quality function deployment) และหลักการ axiomatic  design (AD) อธิบายในส่วนของ เมทริกซ์หลัก 4 เฟส ที่ประกอบไปด้วย การวางแผนผลิตภัณฑ์ การแปลงการออกแบบ การวางแผนกระบวนการ และการวางแผนปฏิบัติการผลิต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์เอนกประสงค์ ถูกเลือกมาเป็นกรณีศึกษาเพราะเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่มีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศอย่างมาก และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จากการจัดทeแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์หาปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประเภทนี้ พบว่าควรคำนึงถึงในการพัฒนาโครงสร้างรถยนต์อเนกประสงค์เพื่อเหมาะสมกับในส่วนโครงเหล็กและโครงสร้างห้องโดดยสาร การออกแบบมีการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ 1.ความคิดริเริ่ม  2.ความคล่องในการคิด 3.ความยืดหยุ่นในการคิด 4.ความคิดละเอียดละออ จึงได้จัดทำชุดฝึกอบรมสำหรับพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่อาจแก้ไขปัญหานี้ได้ ชุดฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นเอกสารวิชาการที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับโรงงานผลิตเบาะเอนกประสงค์ ยานยนต์ ประกอบด้วย 4 ชุดย่อย ได้แก่ 1) กลุ่มปรับปรุงคุณภาพ 2) พื้นฐานทางสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ 3) การศึกษาดูงานการลดการเกิดของเสียในโรงงานตัวอย่าง และ 4) กลุ่มกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ จึงได้จัดการวิพากย์ชุดฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน ซึ่งมาจากสถาบันยานยนต์ 4 ท่าน ผู้ประกอบการผลิตเบาะรถยนต์ 2 ท่าน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย 4 ท่าน หลังจากได้จัดวิพากย์ชุดฝึกอบรมและได้ปรับปรุงตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนําาแล้ว จึงได้นํา  ไปใช้ของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งสุ่มมา 3 โรงงานจากประชากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 12 โรงงาน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้จัดทำขึ้น โดยสุ่มได้ โรงงาน A, B และ C แต่ละโรงงานส่งตัวแทนมารับการฝึกอบรม โรงงานละ 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน ในระหว่างการฝึกอบรมมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน   ได้ประเมินการฝึกอบรม ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวอยู่ในระดับดี เมื่อตัวแทนของพนักงานทั้ง โรงงานกลับไปทำงานก็ได้นําาความรู้ที่ได้รับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์. (2561). การศึกษาเอกลักษณ์จังหวัดอุดรธานีเพื่อออกแบบรถสามล้อระบบไฮบริด, The Study of Udon Thani Province’s Identity for Hybrid Tricycle Design. Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, 26(1), 265-275.

ชาติรส การะเวก, นัฏศรา เซ็มแม้นหมัด และ ปรียานุช วิลาหวาน. (2564). การพัฒนากระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 5-16.

ณัฐดนัย วัฒนสุภิญโญ. (2558). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารภายในห้อง พักผู้โดยสารภายในสนามบิน: กรณีศึกษาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐิยาภรณ์ ประเทืองผล. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กและความรับผิดทางกฎหมาย (สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิศารัตน์ วีระแพทย์, & อัมพน ห่อนาค. (2560). แนวทางในการปรับปรุงธุรกิจเบาะรถยนต์ของร้านพัฒนา เบาะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. MBA-KKU Journal, 10(1), 163-178.

บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์, ภูมิจาตุ นิตานนท์ และ วรวุฒิ กังหัน. (2564). การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันกรณี ศึกษา: บริษัทผลิตเบาะรถยนต์. Sau Journal of Science & Technology, 7(1), 1-14.

Thavornwat, C., Kanchana, R., Jarupinyo, S., & Wattanajitsiri, V. (2017). การลดของเสียใน กระบวนการผลิตลวดเหล็กขึ้นรูปสำหรับเบาะรถยนต์. Thai Industrial Engineering Network Journal, 3(1), 25-33.