การพัฒนาระบบศิษย์เก่าออนไลน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร

Main Article Content

อนุชา จ่าสิงห์
ณัฐพงศ์ พลสยม

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าออนไลน์ สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าที่พัฒนาขึ้น โดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นเว็บไซต์ศิษย์เก่าที่พัฒนาขึ้นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจนักศึกษาที่มีต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จำนวน 30 คน และสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าออนไลน์ สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ระบบการลงทะเบียน ระบบข้อมูลศิษย์เก่า ระบบข่าวสารประชาสัมพันธ์ และระบบเว็บบอร์ด 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในระดับมาก และ
3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าที่พัฒนาขึ้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
จ่าสิงห์ อ., & พลสยม ณ. (2018). การพัฒนาระบบศิษย์เก่าออนไลน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 1(2), 1–7. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152653
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และ ระบบผู้เชี่ยวชาญ: Decision Support Systems Report System.
กรุงเทพฯ: บริษัท เคทีพีคอมพ์แอนด์คอซัลท์จำกัด.
กิตติศักดิ์ ณ พัทลุง. (2014). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เครื่องผสมสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล. วารสารวิทยบริ
การมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์| Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 14(1).
คารัตน์, มาตุภูมิ, วงศ์ ยุทธไกร, ไพรัช, เหง้า สี ไพร, &สุดใจ. (2007). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียน
รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคารตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544.
วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 1(1).
งามนิจ อาจอินทร์. (2012). การบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ แบบสื่อความหมายสำหรับระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีออนโทโล
ยีและโมเดลตัวบริการเว็บ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2012). ปัญหาการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มต่างๆ ด้วยสถิติ Parametric.
วารสารมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, 25(2).
พรรณิสรา จั่นแย้ม, วีรชา ศิวเวทกุล, วลัยกรหงษ์ทอง, &โสภณ เสรี เสถียร ทรัพย์. (2013). การนำเสนอรูปแบบเกมส์ออนไลน์ สำหรับการศึกษา
:การสังเคราะห์เกมส์ออนไลน์ที่ได้รับความนิยม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านอีเลิร์นนิ่ง ประจำปี พ. ศ. 2556, 5-6 สิงหาคม
2556.
พิเชษฐ เพียรเจริญ, &อำนาจ สุคนเขตร์. (2010). การพัฒนาระบบการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Developmentof a System for
Training on Internet Networks. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Academic Services Journal, Prince
of Songkla University, 21(1).