การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย

Main Article Content

ณัฐชัย กัดไธสง
ณัฐพงศ์ พลสยม

บทคัดย่อ

การศึกษาโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย 2) ประเมินคุณภาพแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สายที่พัฒนาขึ้น 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สายที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย แบบประเมินคุณภาพการพัฒนาแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย    และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย สามารถใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อได้ ให้เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา โดยควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้ WIFI เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล 2. ผลการประเมินคุณภาพของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย รวมทั้งหมดทุกด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด (  = 4.67, SD. = 0.48) 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อการพัฒนาแอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย อยู่ในระดับ มากที่สุด (  = 4.65, SD. = 0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขันชัย กิ่งกังวาลย์. (2551). การควบคุมหุ่นยนต์ทางไกลและมีข้อมูลเสริมผ่านทางพีดีเอ. สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
จักรพงษ์ กาวงศ์. (2548). การควบคุมหุ่นยนต์สำรวจผ่านเว็บบราวเซอร์. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชาญเดช ขุนศรี. (2548). การพัฒนาโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์รักษาการณ์ขนาดเล็ก. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี
มงคล เทียนวิบูลย์. (2542). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วนล้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทวัส คล้ายนิล. (2551). การควบคุมหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้ป่วยระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย. สาขาวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อรพดี จูฉิม. (2556). บทบาทของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในยุค “Digital Economy”. หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี.
อดิศักดี้ คงฉาง, วรทิต อ่อนประเสริฐ และอิทธิโชติ จักรไพวงศ์. (2007). “หุ่นยนต์สองล้อที่สามารถ สมดุลด้วยตัวเอง”. Proceeding of the CRIT.
Best, John W. (1977). [online]. Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice Hall , Inc
Wikipedia. (2015). [Online]. เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558]. จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย.
Mcpswis.mcp.ac.th. (2015). [Online]. ADDIE MODEL. [Cited 2015 April.3] From : URL : mcpswis.mcp.ac.th /html_edu/mcp/temp_informed/11163.pdf.