การศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครูและสมรรถนะวิชาเอกของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา: กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

สุนิษา มณฑา
ณิชารีย์ ป้อมสัมฤทธิ์
วุฒิชัย พิลึก
พิชญ์ธนพัฒน์ พรปิติภัทร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในสมรรถนะด้านวิชาชีพครู และสมรรถนะด้านวิชาเอกคอมพิวเตอร์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจสมรรถนะของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา  มีสมรรถนะด้านวิชาเอกมากกว่าสมรรถนะด้านวิชาชีพครู สมรรถนะด้านวิชาชีพครูพบว่านักศึกษามีสมรรถนะวิชาชีพครูด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านวิชาเอกพบว่านักศึกษามีสมรรถนะวิชาเอกด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ สมรรถนะด้านความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธำรงศักคิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). บริหารคนอย่างไรให้ได้ใจและได้งาน.กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 2.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆที่บางครั้งก็พลาดได้. วารสารข่าวสารวิจัยการศึกษา ฉบับที่ 3 หน้า 8-11.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). ประชากร และการสุ่มตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2558, จากhttp://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=989.
สุจิตรา บัวหมื่นไวย. (2557). การประเมินสมรรถนะนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์และการประเมินสมัยใหม่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่“ครูมืออาชีพ” ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ). 2553. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง.
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2558). สถานภาพการผลิตและการพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
Hope Christina H. Deita, อาคม เผือกจันทึก. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจตามความต้องการของสถานประกอบการ. วารสาร
วิชาการศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 หน้า 27-33