การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล

Main Article Content

พาขวัญ พัดเย็นใจ
ชนุดม เอกเตชวุฒิ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล โดยพัฒนาผ่าน Ionic Framework สำหรับใช้งานบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ และมีการใช้บอร์ด Arduino UNO R3, Arduino Ethernet Shield, Relay และ DS3231 module มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์เพื่อรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่น


            ผลวิจัยพบว่าแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จาก Ionic Framework ซึ่งแอพพลิเคชั่นสามารถใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Arduino UNO R3 ในการรับคำสั่งจากแอพพลิเคชั่น และ Relay ในการควบคุมสวิตช์เปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ตัวผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นจะอยู่ห่างไกลกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น แต่ก็ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายมากขึ้นด้วย

Article Details

How to Cite
พัดเย็นใจ พ., & เอกเตชวุฒิ ช. (2018). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 2(2), 44–48. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152790
บท
บทความวิจัย

References

นนท์ปวิธ นุชโพธิ์ และอรรนพ ไชยเรือน. (2557). เครื่องเปิดประตูด้วยโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา.
พงศ์พิชศรณ์ สิงคะตา และคุณกานต์ ขันคานันต๊ะ. (2556). ออกแบบและสร้างชุดควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยอินเทอร์เน็ต. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
วิรินทร์ เมฆประดิษฐ์สิน. (2558). Application ที่เกี่ยวกับ Internet of Thing. [ออนไลน์] สืบค้นจาก: https://th-th.facebook.com/virintr/posts/726637307480141 (วันที่สืบค้น 14
พฤศจิกายน 2558).