การพัฒนาระบบยืม-คืนหนังสือ กรณีศึกษา ห้องสมุดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

พรพิมล สีเหลือง
อมร เนื้อทอง
สรศักดิ์ เบ้าทอง
พนิดา พานิชกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบยืม-คืนหนังสือ กรณีศึกษา ห้องสมุดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์  2) ประเมินประสิทธิภาพและสอบถามความพึงพอใจของระบบยืม–คืนหนังสือ กรณีศึกษา ห้องสมุดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมจำลองเซิร์ฟเวอร์ คือ Apache Web Server ระบบห้องสมุดแบบ Open Source “Open Biblio” แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบยืม-คืนหนังสือ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบยืม–คืนหนังสือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้ระบบ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 105 คน เป็นนักศึกษาจำนวน 100 คน และอาจารย์จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ใน ระดับดี (  = 4.03, SD. = 0.76) และกลุ่มผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (  = 4.21, SD. = 0.65) สรุปได้ว่า ระบบยืม-คืนหนังสือ กรณีศึกษา ห้องสมุดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากของระบบงานเดิม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูลการยืม-คืนหนังสือ และข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ได้ตรงความต้องการของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประสงค์ วงศ์นาค. (2551). การพัฒนาระบบบริการ ห้องสมุดโรงเรียนสำหรับโรงเรียนบ้านดู่.(สหราษฎร์ พัฒนาคาร)การค้นคว้าแบบ
อิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลัลธลิกา ปาดี.2554. การพัฒนาระบบยืม-คืนหนังสือห้องสมุดโรงเรียนบ้านพุทรา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วรชัย ศรีเมือง, จิตรนันท์ ศรีเจริญ. 2556. การออกแบบและพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับ โรงเรียนขนาดเล็กกรณีศึกษาโรงเรียน
ชุมชนบ้านน้ำร้อน. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.