แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

Main Article Content

ยุภา คำตะพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยเครื่องมือที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชันประกอบด้วย โปรแกรม Unity และโปรแกรมภาษา C# กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวคนไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยแบ่งเป็นด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบ และด้านประโยชน์ของแอปพลิเคชันต่อการนำไปใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.=0.64) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.56-4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.31-0.85

Article Details

How to Cite
คำตะพล ย. (2019). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 5(1), 84–94. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/164718
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564). อัดสำเนา, เพชรบูรณ์.
[2] ภาสกร ใหลสกุล. (ม.ป.ป.). Augmented Reality (AR) ความจริงต้อง.https://tednet.wordpress.com/2014/04/20/augmented-reality-ar-ความจริงต้องขยาย/
[3] สยมล วิทยาธนรัตนา. (ม.ป.ป.). ความจริงเสมือน (Virtual Reality): การนำไปใช้และผลกระทบด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2011/menu-2011-apr-jun/100-22554-virtual-reality
[4] เกวลี ผาใต้ พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4(1), หน้า 23-28.
[5] อัฉราวุฒิ ศรีประไหม และพจน์ศิรินทร์ ลิ้มปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยววัดมหาธาตุ. The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2). 44-48.
[6] นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(1), หน้า13-30.
[7] ธนิต เหลืองดี และสุกุมา อ่วมเจริญ. (2560). ระบบนำชมแบบความจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวันอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎเพชรบุรีวิจัยศิลปวัฒนธรรม, วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
[8] บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ พร ดอกประโคน และขวัญฤทัย กุลกิจเจริญ. (2559). การพัฒนาแอปพลิเคชันความจริงเสริมบนมือถือสำหรับแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์. ใน The Twelfth National Conference on Computing and Information Technology. หน้า 672-677.
[9] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7, บริษัทธรรมสาร.
[10] พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี วรรณพรรธน์ ริมผดี และดลใจ ฆารเรือง. (2560). นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง 3 มิติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.