ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงทัศนาจร ในภาคเหนือของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงทัศนาจร ในภาคเหนือของประเทศไทย และ 3) เพื่อสรุปทัศนคติที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงทัศนาจร ในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 354 คน ในสถานที่ท่องเที่ยว จำนวน 6 สถานที่ ประกอบด้วย วัดพระธาตุช่อแฮ อุทยานแห่งชาติแพะเมืองผี คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ กว๊านพะเยา วัดศรีโคมคำ และไร่ภูกลองฮิลล์ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaires) ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คำชี้แจง เพื่ออธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการเก็บรวมรวบข้อมูล และการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนที่ 2 ข้อมูลส่วนตัว เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 3 ทัศนคติที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงทัศนาจร และส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม โดยผลการวิเคราะห์แสดง ค่าความถี่ (Frequency) อัตราส่วนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงทัศนาจรในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 20 – 29 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ลักษณะการเดินทางมาท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่จะเดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน จำนวนผู้ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวระหว่าง 1-5 คน ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว(เฉลี่ย/ครั้ง/คน) ประมาณ 501-1,000 บาท และทัศนคติที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงทัศนาจร ในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( =4.1711) ในปัจจัยสถานที่ท่องเที่ยวมีความสวยงาม รองลงมาคือ สถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียง สถานที่ท่องเที่ยวมีความสงบ รื่นรมย์ ผ่อนคลายจิตใจ สถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว เหมาะสม คุ้มค่า สถานที่ท่องเที่ยวมีสะดวกสบายในการเดินทางมาท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวมีความสะอาด สถานที่ท่องเที่ยวได้รับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม และการบริการให้คำแนะนำหรือข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ตามลำดับ
Article Details
References
/9008/2/mba0950jst_abs.pdf
ฐัศแก้ว ศรีสด และวีรชัย คำธร.(2556).การวิเคราะห์และพัฒนาการทำเหมืองข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพยากรณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลาง.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561,จากhppt://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/929
นิศา ชัชกุล.(2550).อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริณา ลาปะ.(2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย .4(1),30-45.จาก http://
www.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95121/74318
วรรณา วงษ์วานิช.(2546).ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒประสานมิตร.
ศรินทร์ทิพย์ คาวาโนเบะ.(2554). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดน่าน.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
Likert, R.A. (1932, May). “Technique for the Measurement of Attitudes,” Arch Psychological. 25(140) : 1 – 55.
Uysal M and Hagan L.A.R. (1993). Motivation of pleasure travel and tourism.In:Kham .