ระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

จักรกริช คำสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) ทดลองใช้การระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการท าวิทยานิพนธ์ระดับ บัณฑิตศึกษา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ ผู้สอน และ นักศึกษาสาขาการจัดการเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อให้ ค าปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษาประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.1) ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Module) 1.1.1 ) ผู้ใช้ระบบทั่วไป (Users) เช่น นักศึกษา อาจารย์ 1.1.2) ผู้จัดการระบบ (Administrator) 1.2) ส่วนการบันทึกความก้าวหน้า ( Record progress Module) 1.3) ส่วนการ ติดตามความก้าวหน้า ( Tracking progress Module) 1.4 ) ส่วนการสื่อสาร (Communication Module) และองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ระบบ สารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2561). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561. จาก
www2.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc [1/8/2561]
[2] สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[3] เพ็ญศรี ปักกะสีนัง. (2556). การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : วี.พริ้น.
[4] ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ เขจรนนท. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[5] วัชรี ทรัพย์มี. (2544). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้การปรึกษา. ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและ แนวคิดทางการแนะแนว เล่มที่ 2 หน่วยที่ 9. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[6] George, Rickey L. and Cristiani, Therese Striddle. (1990). Counseling : Theory and Practice. 3rd. ed. New Jersey : Prentice-Hall Inc.,
[7] อนุชาติ อินทร์ชนะ วริศรา พุทธสวัสดิ์ และอาจารี นาโค. (2557). ระบบสารสนเทศการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณ, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ ฉบับพิเศษ. 17(3), 239-246.
[8] กมลวรรณ ปรัชญาธนกุล และไชยวุฒิ รัตนพาไชย. (2556). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[9] Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.
[10] สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[11] ยุภา สุธงษา และทัสนันทน์ ตรีนันทรัตน์. (2556). การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
[12] ชรีย์นาท จิตต์บรรเทา. (2554). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[13] วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราฎร์. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการสำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.