การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

วีรศักดิ์ ฟองเงิน
สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ
เนตรดาว โทธรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถี 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบภูมิสารสนเทศโอทอปนวัตวิถีชุมชน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของชุมชมโอทอปนวัตวิถีที่มีต่อระบบภูมิสารสนเทศโอทอปนวัตวิถีชุมชน กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยครั้งนี้คือ ชุมชนนวัตวิถีของจังหวัดลำปาง จำนวน 30 ชุมชน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ระบบภูมิสารสนเทศ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชมโอทอปนวัตวิถี แบบประเมินประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินระบบภูมิสารสนเทศ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถีของจังหวัดลำปาง ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของระบบหลักที่สามารถจัดการบริหารข้อมูลได้ทั้งหมด และส่วนของระบบย่อยที่เอาไว้จัดการบริหารข้อมูลของแต่ละชุมชมทั้งหมด 30 ชุมชน 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบภูมิสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถีของจังหวัดลำปาง โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.60) และ 3) กลุ่มเป้าหมายมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.63, S.D. = 0.51 )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ระพีพรรณ ทองห่อ; และคณะ (2549). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพและ ข้อจำกัดของกลุ่ม จังหวัดภาคกลางตอนบน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 9(2), 17- 26.
[2] วรรณี ศิริมานะพงษ์. (2549). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสมุทรปราการ. (ปริญญานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[3] เพชรศรี นนทศิริ. (2556). รูปแบบการดาเนินงานของกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตภาคเหนอื ตอนลาง. วารสารวิชาการการทองเที่ยวไทยนานาชาติ, 8(2), 47-66
[4] ทิชากร เกสรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกในตลาดอาเซียน. วารสารศรีนครินทร
วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 30(2), 155-174.
[5] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
[6] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.