การจำแนกเขตการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปอ ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

Main Article Content

Sudarat Arthan

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 แห่ง ในชุมชนบ้านร่องปอ ได้แก่ ป่าชุมชนม่อนผาขัน ป่าชุมชนบ้านหมู่ 7 อ่างเก็บน้ำร่องปอ ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่แก้ว โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ (ROS) ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพวิเคราะห์ใช้วิธีการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และปัจจัยด้านสังคมวิเคราะห์โดยใช้การให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า
การจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยปัจจัยด้านกายภาพ ป่าชุมชนม่อนผาขัน ป่าชุมชนบ้านหมู่ 7 และอ่างเก็บน้ำร่องปอ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในเขตพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ (SPM) ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่แก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้น/ดัดแปลง (RN-M) สำหรับการจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยปัจจัยด้านสังคม พบผลที่ได้สอดคล้องกับปัจจัยด้านกายภาพ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านร่องปอ ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่ และไม่สอดคล้องจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ป่าชุมชนม่อนผาขัน และป่าชุมชนหมู่ 7 ได้ผลจำแนกเป็นเขต
การท่องเที่ยวพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (SPNM) จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบพื้นที่เป็นภูเขามี
ความลาดชันและเส้นทางเดินมีความคดเคี้ยว ซึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ให้ผลได้ไม่แม่นยำนักในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา ผลการศึกษาที่ได้จะถูกนำใช้เพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] ศูนย์ประสานงานป่าไม้พะเยา. (2557). รายงานการจัดตั้งโครงการป่าชุมชนบ้านร่องปอ หมู่ที่ 14 ตำบลดงเจน อำเภอ
ภูกามยาว จังหวัดพะเยา. เชียงราย: สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) กรมป่าไม้.
[2] ศูนย์ประสานงานป่าไม้พะเยา. (2557). รายงานการจัดตั้งโครงการป่าชุมชนบ้านร่องปอ หมู่ที่ 7 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว
จังหวัดพะเยา. เชียงราย: สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) กรมป่าไม้.
[3] Clark, R. N., & Stankey, G. H. (1979). The Recreation opportunity Spectrum: a framework for planning,
management, and research. Gen. Tech. Rep. PNW-GTR-098. Portland, OR: US Department of Agriculture, Forest Service, Pacific Northwest Research Station. 32 p, 98.
[4] ดรรชนี เอมพันธุ์ (2544). รายงานการท่องเที่ยวทางธรรมชาติการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในผืนป่าตะวันตก. กรุงเทพมหานคร:
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[5] ดรรชนี เอมพันธุ์, สุทัศน์ วรรณะเลิศ, และเรณุกา รัชโน. (2547). คู่มือการจำแนกเขตการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ (Recreation Opportunity Spectrum). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
[6] ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
[7] นครินทร์ ชัยแก้ว. (2555). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พะเยา: มหาวิทยาพะเยา.
[8] อรอนงค์ เฉียบแหลม. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านการทอ่งเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16(3),365-382.
[9] ไพมานี บุบผาพัน, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา, และศศิธร เชาวรัตน์. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพระเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5 (ฉบับพิเศษ),
222-228.