การพัฒนาเว็บไซต์การบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรรถสิทธิ์ คำภูดี

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเว็บไซต์การบริหารจัดการ กลุ่มโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาผลการพัฒนาเว็บไซต์การบริหารจัดการ กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ศึกษาการยอมรับและนำไปใช้เว็บไซต์การบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูแกนนำไอชีที ในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ 18 รูป/คน คัดเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบและเว็บไซต์ของโรงเรียน และโรงเรียนได้ส่งเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือและเว็บไซต์ต้นแบบสำหรับหน่วยงานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามการยอมรับและนำไปใช้เว็บไซต์ต้นแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเว็บไซต์การบริหารจัดการ กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเว็บไซต์ต้นแบบสำหรับหน่วยงานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย 10 ส่วน คือ ส่วน Admin ส่วน User ส่วนข้อมูล ส่วนบุคลากร ส่วนข้อมูลนักเรียน ส่วนข้อมูลสารสนเทศ ส่วนหน่วยงานภายใน ส่วนประชาสัมพันธ์ส่วนคลังภาพ และส่วนดาวน์โหลด 2) ครูแกนนำสามารถพัฒนาเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยจำนวน 3 โรงเรียน ส่วนใหญ่ผลการพัฒนาเว็บไซต์อยู่ในระดับที่ 2 คือ สามารถบันทึกข้อมูลครบถ้วนแต่ยังมีข้อมูลบางรายการที่ต้องแก้ไข และความพึงพอใจของครูแกนนำที่มีต่อการอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ครูแกนนำที่เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อการยอมรับและนำไปใช้เว็บไซต์ต้นแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุมาส วงศ์สุนพรัตน์. (2552). Strategic Branding ตอน 13. สืบค้นจาก https://marketeer.co.th/inside_detail.php?
inside_id=7549
[2] รงรอง แรมสิเยอ. (2556). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการของฝ่ายปกครอง ตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
[3] กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 11. (2558). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://www.group-11.com/main.html
[4] วิจิตร อุ่นสากล. (2537). การศึกษาระบบสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 9.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
[5] ดวงพร เกี๋ยงคำ (2560). คู่มือออกแบบและสร้างเว็บไซต์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ไอดีซีย์.
[6] กาญจนา ดงสงคราม. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการสาขาวิชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[7] ศรีวิไล นิราราช, วรปภา อารีราษฎร์, และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (น.200-207). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] ภัทรพงษ์ อักษร. (2559). การศึกษาองค์ประกอบเว็บไซต์ต้นแบบสำหรับหน่วยงานและบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน การการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 30-31 มีนาคม 2559.
[9] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.