การพัฒนาระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพัฒนาองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว และ 2) ระเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพลิเคชั่น และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว จำนวน 3 คน เพื่อประเมินคุณภาพพลิเคชั่นและปลั๊กไฟอัจฉริยะ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว 2) แบบประเมินคุณภาพระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาพัฒนาองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว พบว่า องค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัวประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก  คือ  ส่วนที่ 1  แอปพลิเคชั่นควบคุมการเปิด-ปิด ปลั๊กไฟ ประกอบด้วย 1) ส่วนแสดงสถานะการทำงานของปลั๊ก 2) ตั้งเวลา เปิดปลั๊กไฟ 3) ตั้งเวลา ปิดปลั๊กไฟ 4) ส่วนบันทึกข้อมูลการ เปิด-ปิด ปลั๊กไฟ  ส่วนที่ 2  องค์ประกอบโครงสร้างสมองกลฝังตัว  ประกอบด้วย 1) อุปกรณ์ฮาร์แวร์ ประกอบด้วย Relay Module ,บอร์ด Arduino 2) ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย  Arduino IDE  ส่วนที่ 3 เทคโนโลยี Internet of Things (ioT) ประกอบด้วย NETPIE  CLOUD PLATFORM  2) ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัวพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] AL-Fuqaha, A., Guizani, M., Mohammadi, M., Aledhari, M., & Ayyash, M. (2015). Internet of
Things: A Enabaling Technologies, Protocols, and Applications. IEEE Communication Surveys & Tutorials. 17(4); 2347-2376.
[2] ยุทธนา ไวประเสริฐ, พงษ์สวัสดิ์ อำนาจกิติกร, นราธิป วงษ์ปัน, วีรชัย สว่างทุกข์, ณัฐสินี ตั้งศิริไพบูลย์ และธนวรกฤต
โอฬารธนพร. (2559). การพัฒนาชุดเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุม ด้วยระบบสมองกลฝังตัว. วารสารวิชาการ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 107-120.
[3] ชัดชัย แก้วตา, ชัชวาล ขันติคเชนชาติ, และยุทธศักดิ์ ทองแสน. (2561). การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำ ผ่านระบบเครือข่ายระยะไกลแบบอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 73-89.
[4] สมประสงค์ อินทรรักษ์ม และ สุนันทา ศรีม่วง. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านระบบ. วารสาร โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ , 3(1), 57-62.
[5] สรพงษ์ วชิรรัตนพรกล. (2560). ระบบสมองกลฝังตัวเพื่อการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย X10. วารสารเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า, 1(1), 10-14.
[6] วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ.
[7] นคร สินคา และอรรถพล วงค์มาตย์. (2559). แบบจำลองลานจอดรถอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี RFID. มหาสารคาม: โครงงานสาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.