การพัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Main Article Content

ดวงพร ไม้ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 2) ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอนนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลทั่วไปจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอนนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แบ่งออกเป็น  ความหมายของโรค สาเหตุ ปัจจัยการเกิดโรค อาการ วิธีการปฏิบัติการกู้ชีพ แนวทางการรักษา และการป้องกันโรคกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พบว่า ผลจากการประเมินความพึงพอใจโดยบุคคลทั่วไป จำนวน 60 คน ได้รับการตอบรับในทางบวก ความเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.54 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล (2547). การสร้างภาพยนตร์ 2D อนิเมชั่น (How to make 2D Animation). กรุงเทพฯ : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี.
[2] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
[3] ประคอง กรรณสูต. (2539). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] ปณิธาน มหุวรรณ และ พัชรินทร์ ศรีสุวรรณ.(2559). การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเรื่องโรคเบาหวานสำหรับฐาติผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “แพทย์แผนไทยภูมิปัญญาของแผ่นดิน”.มหาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินทร, พิษณุโลก.
[5] ภควลัญช์ เพสอุน, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และ นิรัตน์ อิมามี. (2560). การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่น เรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ ในผู้ป่วยได้รับการสวนหัวใจ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(3), 315-325.
[6] ภาสกร ปาละกูล และสุภัทรา สุวรรณหงส์. (2560). การพัฒนาสื่อเคลื่อนไหว 3 มิติ เพื่อการสาธารณสุข เรื่อง โรคไข้เลือดออก.
(รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ.
[7] สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สาธารณสุขเผยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอัตราการเสียชีวิตลดลง. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/115138/
[8] อนีมา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2559). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง พี่น้องออมเงิน. วารสารวิจัยและพัฒนา
วไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(2), 193-203.